ข่าวการศึกษาไทย
เกร็ดความรู้ ประชาคมอาเซียน หรือ AEC
อย่างที่รู้กันว่า อีก 3 ปี (ในปี 2558 ) ประเทศไทยและอีก 10 ประเทศในอาเซียนนั้นจะได้มาร่วมมือกัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ ประชาคมอาเซียน หรือ AEC ( Asean Economics Community ) กันหน่อยดีกว่าคะ ^^
เกร็ดความรู้ ประชาคมอาเซียน : ประชาคมอาเซียนคืออะไร
สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะก้าวเข้าสู่ความร่วมมือกันในมิติ ใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2558) ทั้ง 10 ประเทศอาเซียนจะเข้าใกล้ระยะที่เหมือนกับเป็นประเทศเดียวกันมากขึ้นประชากรของประเทศสมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกและง่ายดายขึ้นไม่ต้องมีวีซ่าและไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด คือมีสภาพคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน โดยไม่ได้สูญเสีย ความเป็นเอกราช และอธิปไตยของตนไป ดินแดนของใครเป็นอยู่อย่างไรก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น
ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำมาค้าขายกันอย่างสะดวก มากขึ้น ไม่มีการจัดเก็บภาษีข้ามแดน หรือที่เรียกว่าภาษีศุลกากรระหว่างกัน นั่นคือในการส่งสินค้าข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร หรือเสียในอัตราศูนย์ แต่อาจมีการตรวจสอบคุณภาพหรือคุณสมบัติบางอย่างของสินค้า จะมีความสะดวกสบายในเรื่อง การพกพาหรือการโอนเงินระหว่างประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ง่ายดายขึ้นกว่าแต่ก่อน
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
เกร็ดความรู้ ประชาคมอาเซียน : สัญลักษณ์อาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
คำขวัญของอาเซี่ยน “One Vision, One Identity, One Community” ”หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม ”
ประเทศที่เข้าร่วม ประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 10 ประเทศด้วยกัน ดังนี้
บรูไน , กัมพูชา , อินโดนีเซีย , ลาว , มาเลเซีย , พม่า , ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์ , ไทย และ เวียดนาม
วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีใน ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียนมีสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ วิชาชีพที่มีการตกลงให้เคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกนั้นได้แก่
- วิชาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาหรือการแพทย์ (Medical services)
- วิชาชีพที่เกี่ยวกับทันตกรรม (dental services)
- วิชาชีพพยาบาล (nursing services)
- วิชาชีพด้านวิศวกรรม (engineering services)
- วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม (architectural services)
- วิชาชีพเกี่ยวกับการสำรวจ หรือนักสำรวจ (surveying qualification)
- วิชาชีพบัญชี (accountancy services)
และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการตกลงให้เพิ่มวิชาชีพด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา (hotel services and tourism)เมื่อมีการเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ประเทศไทยก็อาจเป็นประเทศหนึ่งที่แรงงานต่างชาติให้ความสนใจนี่จึงเป็นเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราคนไทยมากขึ้น
เพื่อนๆสามารถเข้าไปติดตาม เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ceted.org/tutorceted/#3 นะคะ ในปี 2558 เป็นเวลาอีกเพียง 3 ปีเท่านั้น ที่คนคนไทย นักศึกษา ไทยจะได้ก้าวสู่ความเสรีทางด้านการศึกษา ด้านอาชีพแล้ว ดังนั้นพวกเราควรเตรียมตัวให้พร้อมกับ ประชาคมอาเซียน ครั้งนี้กันนะคะ ^^
ที่มา http://www.ceted.org/tutorceted/#3