สารสนเทศโรงเรียน
วันที่ 19 ม.ค. 2568
ตราสัญลักษณ์
ความหมายตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน
๑.คบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่างที่ส่องนำทาง เพื่อให้การศึกษาก้าวรุดหน้าด้วยความมั่นคง
และเจริญรุ่งเรือง
๒.ตราอาร์ม มีข้างในเป็นอักษรย่อของโรงเรียน หมายถึง ความเข้มแข็งและความสามัคคี
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร
๓.ริบบิ้นผ้าสีขาวขอบสีฟ้า ข้อความ “นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา” หมายถึง บุคลากรในองค์กร
ทุกฝ่ายให้สำคัญกับการสั่งสอนและอบรมศิษย์มาเป็นลำดับที่๑
คติพจน์ประจำโรงเรียน
“นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี”
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
โรงเรียนบ้านตระการได้กำหนดวิสัยทัศน์ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ดังนี้วิสัยทัศน์ (Vision)
"โรงเรียนบ้านตระการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ยึดหลักธรรมาภิบาลมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ"
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
3. ส่งเสริมคุณลักษณะของผู้เรียน และบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
4. พัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากรให้มีทักษะในการใช้ ICT และภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ
ประวัติโรงเรียนบ้านตระการ
โรงเรียนบ้านตระการ ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2445 โดยอาศัยศาลาวัดบ้านตระการเป็นสถานที่เรียนเป็นโรงเรียน
ประถมศึกษาที่โรงเรียนจัดตั้งขึ้นอยู่ได้ด้วยรายได้ของอำเภอ โดยนายสุริยะ สุวรรณกูฏ ซึ่งเป็นนายอำเภอสมัยนั้นเป็นผู้ก่อตั้ง
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2464 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
หลักสูตรและประมวลการสอนเป็นไปตามประมวลการสอนพิเศษภาค 1 การเกณฑ์เด็กเข้าเรียนเมื่อเด็กมีอายุย่างเข้าปีที่ 9การเรียนก่อนใช้พระราชบัญญัตินี้ เป็นการเรียนโดยความสมัครใจ เงินรายได้ของโรงเรียนเป็นเงินศึกษาพลีเก็บจากราษฎรคนละ 2 บาท ต่อปีมีครูคนแรกคือ นายฮง มณีภาค
เมื่อ พ.ศ 2500 ได้รับงบประมาณปลูกสร้างอาคารเรียน 4,000 บาท ได้สร้างอาคารเรียนขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 30 เมตร และมีมุขห้องพักครูขนาด 6 x 6 เมตร โดยสร้างในที่ดินของโรงเรียนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านตระการ ประมาณ 500เมตร
เมื่อ พ.ศ. 2404 ทางราชการได้ย้ายนายสมพงษ์ ใจใหญ่ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทนคนก่อนทางโรงเรียนได้ดำเนินการ สภาพของโรงเรียน ดังนี้
พ.ศ. 2504 ปรับสนามให้ราบเรียบพอใช้ได้
พ.ศ. 2505 ล้อมรั้วด้วยหลักถาวร และลวดหนาม
พ.ศ. 2507 จัดทำโต๊ะนักเรียนจำนวน 60 ชุด
พ.ศ. 2508 สร้างฝากั้นห้องชั่วคราว
พ.ศ. 2508 นายสมพงษ์ ใจใหญ่ ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพนเมือง และย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนบ้านตระการอีกเมื่อ พ.ศ. 2511 แทนนายช่วง สุวรรณกูฏ
พ.ศ. 2511 ได้งบประมาณก่อสร้างส้วม 2 ที่ ด้วยเงินค่าอบรมสภาตำบล ( พ.พ.ป.)
พ.ศ. 2520 ได้เงินงบประมาณปลูกสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ซ ขนาด 3 ห้องเรียน
งบประมาณ 120,000 บาท สร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง งบประมาณ 50,000 บาท และส้วม 5 ที่
งบประมาณ 50,000 บาท
พ.ศ. 2527 ทางราชการให้งบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตขนาด 4 ห้องเรียน
งบประมาณ 800,000 บาท และปรับปรุงสนามฟุตบอล งบประมาณ 50,000บาท
พ.ศ. 2529 ได้ทำการรื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่ามาปลูกสร้างอาคารชั่วคราว โดยได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านและคณะครูเป็นค่าปลูกสร้าง จำนวน 30000 บาท และได้รับมอบเครื่องขยายเสียง จากนายประยุทธ อุ่นท้าวซึ่งเป็นศิษย์เก่าราคา 10,000 บาท
พ.ศ. 2530 ได้รับเงินบริจาคสร้างห้องสมุด ขนาด 4 x 5 เมตร จากนายพุฒา อ่างคำ
งบประมาณ 20,000 บาท ได้รับงบประมาณปลูกสร้างส้วม แบบ 601/26 จากทางราชการ 20,000 บาท พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช105/26 ชั้นล่าง ขนาด 4 ห้องเรียน 240,000 บาท
วันที่ 15 มกราคม 2535 นางสุทธิวาส แคร์น ได้มอบกลองพาเหรดให้โรงเรียนเป็นมูลค่า 6,200 บาท
พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณปลูกสร้าง ส้วม แบบ 601/26 จำนวน 4 ที่ งบประมาณ 90,000 บาท
พ.ศ. 2537 ได้ก่อสร้างสนามบาสเก็ตบอล โดยได้รับเงินบริจาคจากศิษย์เก่า เพื่อเป็นอนุสรณ์
ให้นายสมพงษ์ ใจใหญ่ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านตระการที่จะเกษียณอายุราชการงบประมาณ 60000 บาท
เมื่อเดือนธันวาคม 2537 นายอดิศักดิ์ นนทวี ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านตระการ
พ.ศ. 2538 ได้สร้างอาคารเอนกประสงค์ โดยใช้งบพัฒนาจังหวัด 600,000 บาท
พ.ศ. 2539 ได้ก่อสร้างรั้วคอนกรีตโดยได้รับเงินบริจาคจากศิษย์เก่าและประชาชน สิ้นเงินในการก่อสร้างจำนวน 168,000 บาท
พ.ศ. 2540 ได้ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง อาคาร ป.1.ซ. จำนวน 2 ห้องเรียน โดยได้รับเงินบริจาคจากประชาชน และคณะครู จำนวน 70,000 บาท ได้ปรับปรุงห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องวิทยาศาสตร์ โดยใช้งบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาต จำนวน 89,000 บาท
พ.ศ.2542 โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดเอกเทศ โดยอาศัยงบประมาณจากการบริจาค ของชุมชนและคณะครู ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับแรงงานการก่อสร้างจากผู้นำชุมชนและผู้ปกครองนักเรียน งบประมาณ 60,800บาท
วันที่ 13 มกราคม 2551 นายอดิศักดิ์ นนทวี ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบบ้านสะพือและทางราชการได้ย้าย นายอุทัย ทวีท้าว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสงยาง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตระการแทน
พ.ศ.2551 คุณพ่อเสริม พละพันธ์พร้อมลูกหลานได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างรั้วโรงเรียนด้านทิศเหนือเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท และได้บริจาคเงินซื้อกลองยาวให้โรงเรียนจัดกิจกรรม เป็นจำนวนเงิน 14,700 บาท
พ.ศ. 2553 โรงเรียนบ้านตระการได้ก่อสร้างระบบประปาในโรงเรียนและก่อสร้างสนามฟุตบอลด้วยงบประมาณของชาวบ้านและศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านตระการจำนวนเงินทั้งสิ้น 250,000 บาท
พ.ศ. 2561 โรงเรียนบ้านตระการได้ก่อสร้างห้องประชุมใหญ่พร้อมติดตั้งแอร์และอุปกรณ์ภายในห้องประชุมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 780,000 บาท และได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นหม้อแปลง 3 เฟส พร้อมทั้งปักเสาเดินระบบไฟฟ้าใหม่เป็นจำนวนเงินทั้งสิน230,000 บาท ด้วยงบประมาณของชาวบ้านและศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านตระการ
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านตระการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีคณะครูทั้งสิ้น 12 คน นักการภารโรง 1 คน มีจำนวนนักเรียน 133 คน
พื้นที่เขตบริการ
โรงเรียนบ้านตระการมีเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือบ้านตระการ หมู่ที่ 1 และบ้านตระการ หมู่ที่ 6
คณะกรรมการสถานศึกษาฯ
1.นายประดิษฐ์ กลิ่นนิยม ประธานกรรมการ
2.นายศิริชัย คูณตระการ กรรมการ
3.นายวิชิต ปกป้อง กรรมการ
4.นางบรรจง พิลาบุตร กรรมการ
5.นายถาวร ศรศิลป์ กรรมการ
6.นายสุทัศน์ สุวรรณกูฏ กรรมการ
7.นางราตรี พันธุยา กรรมการ
8.พระอุทัย อะนีโฆ กรรมการ
9.นายอุทัย ทวีท้าว กรรมการและเลขานุการ
โครงสร้างการบริหารงาน
งานบริหารทั่วไป มีนางวิชุนีย์ ทวีท้าว เป็นหัวหน้า
มีนางสาวอนุธิดา ปุยอ่อน และนางมาลา อิ้มแตง ร่วมรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ 22 หน้าที่ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
(2) การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
(3) การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
(4) งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
(5) การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
(6) การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
(7) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
(8) การดำเนินงานธุรการ
(9) การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
(10) การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
(11) การรับนักเรียน
(12) การเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา
(13) การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
(14) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(15) การทัศนศึกษา
(16) งานกิจการนักเรียน
(17) การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
(18) การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กรหน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
(19) งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
(20) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
(21) การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
(22) แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
งานวิชาการ มีนางสาวเพ็ญศรี พละพันธ์ เป็นหัวหน้า
มีนางสาวเสาวลักษณ์ ผาใหญ่ ร่วมรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ 17 หน้าที่ดังนี้
(1) การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
(2) การวางแผนงานด้านวิชาการ
(3) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
(4) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
(5) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
(6) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
(7) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
(8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
(9) การนิเทศการศึกษา
(10) การแนะแนว
(11) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
(12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
(13) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
(14) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
(15) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
(16) การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
(17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
งานงบประมาณ มีนายถาวร ศรศิลป์ เป็นหัวหน้า
มีนายสมพงษ์ชัย กุมารสิทธิ์ ร่วมรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ 22 หน้าที่ดังนี้
(1) การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณ
(2) การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
(3) การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
(4) การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
(5) การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
(6) การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ
(7) การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ
(8) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
(9) การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
(10) การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(11) การวางแผนพัสดุ
(12) การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณ
(13) การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ
(14) การจัดหาพัสดุ
(15) การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
(16) การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
(17) การเบิกเงินจากคลัง
(18) การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน
(19) การนำเงินส่งคลัง
(20) การจัดทำบัญชีการเงิน
(21) การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
(22) การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
งานบุคคล มีนายอุทัย ทวีท้าวเป็นหัวหน้า
มีนายถาวร ศรศิลป์ และนางอนงค์ทรัพย์ วงศ์ชาลี ร่วมรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ 20 หน้าที่ดังนี้
(1) การวางแผนอัตรากำลัง
(2) การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(3) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
(4) การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(5) การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
(6) การลาทุกประเภท
(7) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(8) การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
(9) การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(10) การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
(11) การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
(12) การออกจากราชการ
(13) การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
(14) การจัดทำ บัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(15) การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(16) การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ
(17) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
(18) การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(19) การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต
(20) การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา