ประวัติ

วันที่ 16 ม.ค. 2568
 
 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยาง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2467  โดยความร่วมมือของราษฎรใน หมู่บ้าน  ซึ่งไม่มีงบประมาณสนับสนุนแต่อย่างใด ได้สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว  เมื่ออาคารชำรุด จึงได้ย้ายไปเรียนโดยอาศัยศาลาวัด  ต่อมาได้ใช้ใต้ถุนที่ทำการกิ่งอำเภอท่าสองยางเป็นที่เรียน โดยมี นายสมบูรณ์  นวรศศิ เป็นครูใหญ่ มีนายปลั่ง คำใส เป็นครูประจำชั้น
 ในปี พ.ศ.2487 นายสมบูรณ์ นวรศศิ ซึ่งเป็นครูใหญ่ ได้ลาออกจากราชการ  ทางการจึงแต่งตั้งนายปลั่ง คำใส เป็นครูใหญ่แทน
 ในปี พ.ศ.2491 ได้โอนกิ่งอำเภอท่าสองยาง ที่ขึ้นกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน  มาขึ้นกับจังหวัดตาก และได้ย้ายที่ทำการกิ่งอำเภอท่าสองยาง ไปตั้งที่หมู่ที่ 1  ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในปัจจุบันนี้  สาเหตุที่ย้ายเนื่องจากการคมนาคมลำบาก และอยู่ห่างไกล  ทำให้งานของราชการดำเนินไปด้วยความล่าช้า นายปลั่ง คำใส  ได้อนุมัติรื้อถอนอาคารที่ทำการกิ่งอำเภอ มาสร้างเป็นอาคารเรียนแบบอาคาร  ชั้นเดียว ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร เปิดสอนเมื่อปี พ.ศ.2496  โดยมีนายสมุทร โพร้งพนม ศึกษาธิการอำเภอท่าสองยาง  เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียน
ในปี พ.ศ.2508 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ ให้สร้างอาคารเรียน เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยสร้างในที่ดินของวัดมงคลคีรีเขตร์ เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2509
ในปี พ.ศ.2516 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก ให้สร้างอาคารเรียนแบบถาวร แบบ ป.1 ซ. ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) โดย สร้างในที่ดินของราษฎร ที่หลวงพ่อสร้อย ขันติสาโร เจ้าอาวาสวัดมงคลคีรีเขตร์ ได้บิณฑบาตจากราษฎร เป็นจำนวน 6 ไร่ 
30 ตารางวา มอบให้กับทางโรงเรียน มีรายชื่อผู้บริจาค ดังนี้
1.นายควาย ปัญญาไว
2.นายแคว สุริยะวงศ์
3.นายโกศล คำแก้ว
4.นายจันทร์ แสนไชย
 อาคารเรียนหลังนี้ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517
 ในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการสภาตำบลท่าสองยาง โดยมี นายอินสม  แสนไชย ประธานสภาตำบล ท่าสองยาง ได้อนุมัติเงิน ก.ส.ช. จำนวน  30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น
 ในปี พ.ศ.2521 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก  มาสร้างโรงอาหารแบบ 312 จำนวน 1 หลัง
 ในปี พ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  สร้างอาคารเรียนแบบกรมสามัญ 004 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียน  งบประมาณ 1,300,000 บาท(หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)   ได้เปิดใช้อาคารเรียนหลังนี้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2525  อาคารอเนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง
 ในปี พ.ศ.2525  ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  สร้างถังน้ำซีเมนต์ แบบ ฝ.30 พิเศษ ของกองสุขาภิบาล กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข งบประมาณ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)  และก่อสร้างส้วม สปช. 601/26 ขนาด 3 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง
ในปี พ.ศ.2529 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ สร้าง ส้วม แบบ 401 ขนาด 4 ที่นั่ง จำนวน 1 หลังงบประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 5 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 2,019,250 บาท (สองล้านหนึ่งหมื่นเก้าพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) 
ในปี พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ ทำการก่อสร้างส้วมแบบ 401 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง งบประมาณ 50,000 บาท
โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยางมีบ้านพักครู จำนวน 6 หลัง สร้างในบริเวณโรงเรียนจำนวน 3 หลัง อยู่ในที่ดินของ
โรงเรียนจำนวน 3 หลัง มีข้าราชการอาศัยอยู่ครบ 6 หลัง
ในปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรม
การการประถมศึกษาแห่งชาติ ทำการก่อสร้างสนามบาสเกตบอล
จำนวน 1 สนาม 
ในปี พ.ศ . 2541 ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ ทำการก่อสร้างส้วม 401 จำนวน 1 หลัง
ขนาด 4 ที่นั่ง 
ในปี พ.ศ . 2542 ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ ทำการก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์
แบบ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 1 สนาม งบประมาณ
100,000 บาท ( หนึ่งแสนบ้านถ้วน ) 
ในปี พ.ศ . 2542 ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ ทำการก่อสร้างถังน้ำซีเมนต์แบบ ฝ30 พิเศษ จำวน 1 ชุด งบประมาณ 67,000 บาท
( หกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน )
ในปี พ.ศ. 2543 จัดทำถนนคอนกรีตภายในโรงเรียนทั้งหมด  โดยนายกำแหง ศิริวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครู 
 ได้ร่วมกันหาเงินโดยจัดทอดผ้าป่า  ในวงเงิน 200,000 บาท 
 (สองแสนบาทถ้วน)  โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด
 ในปี พ.ศ . 2544 ได้รับงบประมาณจาก  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ทำการก่อสร้างสนามฟุตบอลจำวน 1 สนาม งบประมาณ 80,000 บาท
 (แปดหมื่นบาทถ้วน)
 ในปี พ.ศ . 2545 โรงเรียนได้ขยายห้องเรียน  เคลื่อนที่ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 ห้องเรียน ใน 2 หมู่บ้านคือ 
 บ้านแม่จวาง และบ้านทีชอแม หมู่ 8 ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง  จังหวัดตาก และได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรชั่วคราว จำนวน 1  หลัง บ้านพักครู 1 หลัง ส้วมนักเรียน 1 หลัง 2 ที่นั่ง  ที่ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านทีชอแม  และต่อเติมศาลาหมู่บ้านบ้านแม่จวางให้เป็นอาคารเรียนถาวรชั่วคราว  จำนวน 1 หลัง 
 ในปี พ.ศ . 2545 ได้รับงบประมาณจาก  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  รื้อย้ายบ้านพักครูจากโรงเรียนบ้านแม่จะเรา  สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่ระมาด มาสร้างที่  โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยาง แบบ สปช. 305 จำนวน 1 หลัง  งบประมาณ 142,000 บาท 
 ( หนึ่งแสนสี่หมื่นสองพันบาทถ้วน )
 ในปี พ.ศ . 2546 จัดทำอาคารห้องพักครู โดยนายกำแหง ศิริวงษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูภารโรง นักเรียน  ผู้ปกครองนักเรียนได้ทำการจัดทอดผ้าป่า งบประมาณ 150,000 บาท
 ( หนึ่งแสนห้าหมื่นบ้านถ้วน ) โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ
 ในปี พ.ศ . 2546.ได้รับงบประมาณจาก  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ทำการก่อสร้างบ้านพักครูแพนด้า (บ้านเล็กในป่าใหญ่ )  โดยทำการก่อสร้างที่ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านแม่จวาง จำนวน 1 หลัง  และบาท รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 100,000 บาท  (หนึ่งแสนบาท)
 โรงเรียนมีที่ดิน จำนวน 6 แปลงดังนี้ 
 แปลงที่ 1 มีเนื้อที่ 2 งาน 35 ตารางวา  ใช้ประโยชน์จัดดำเนินการโครงเกษตร
 เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
 แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 2 งาน 67 ตารางวา  ใช้ประโยชน์สร้างบ้านพักครูจำนวน 2 หลัง
 แปลงที่ 3 มีเนื้อที่ 2 งาน 11 ตารางวา ใช้ประโยชน์สร้างบ้านพักครู 
 จำนวน 1 หลัง 
 แปลงที่ 4 มีเนื้อที่ 1 งาน 31 ตารางวา ใช้ประโยชน์  จัดดำเนินการโครงเกษตรเพื่อ
 โครงการอาหารกลางวัน
 แปลงที่ 5 มีเนื้อที่ 6 ไร่ 36 ตารางวา ใช้ประโยชน์  เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน
 แปลงที่ 6 มีเนื้อที่ 65 ไร่ 48 ตารางวา ใช้ประโยชน์  เป็นสนามกีฬาฟุตบอลโครงการเกษตรโรงเรียน  และก่อสร้างอาคารเรียนอาคารประกอบ