คุณครูพฤกษา ปัญญาธงชัย
วันที่ 13 ม.ค. 2568ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้รายงาน นางสาวพฤกษา ปัญญาธงชัย
ปีการศึกษา 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ
ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 15 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 15 แผน ใช้เวลาเรียน 30 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 30ข้อ เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที แบบแผนที่ใช้ในการทดลอง แบบ (One Group Pretest Posttest Design) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.02/85.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัด การเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน สะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้รายงาน นางสาวพฤกษา ปัญญาธงชัย
ปีการศึกษา 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ
ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 15 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 15 แผน ใช้เวลาเรียน 30 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที จำนวน 30ข้อ เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที แบบแผนที่ใช้ในการทดลอง แบบ (One Group Pretest Posttest Design) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.02/85.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัด การเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน สะกดคำ ชุด รักษ์ภาษา หรรษาพาที โดยภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด