ข่าวการศึกษาไทย
วันสมาธิโลก 2564 World Meditation Day
ผู้เข้าชม : 62727
วันสมาธิโลก 6 สิงหาคมของทุกปี
World Meditation Day 2024 b.e.
วันสมาธิโลก 6 สิงหาคม พุทธศักราช 2548
6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อเป็นวันรวมใจของชาวพุทธและชาวโลกทั้งหลายมานั่งสมาธิ
อาจกล่าวได้ว่า ภัยที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติก็คือ “สงคราม” ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้นมาเอง และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลกนี้ ก็ยังไม่เคยมียุคใดว่างเว้นจากสงครามอย่างเด็ดขาดได้เลย คำว่า “สันติภาพ” จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลกพากันแสวงหามาโดยตลอด
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการนำระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ไปปล่อยลงที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์อันเจ็บปวดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ทำให้ชาวโลกตระหนักถึงภัยอันใหญ่หลวงของสงคราม จึงได้พยายามร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมา เพื่อรักษาสันติภาพให้แก่ประชาคมโลกนั่นคือ องค์การสหประชาชาติ
ในการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย พ ส ล.) ปี พ.ศ. 2531 ได้เห็นความสำคัญของการทำสมาธิ ทั้งนี้เพราะการทำสมาธิ แม้จะเป็นธรรมปฏิบัติในพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นของสากลที่ศาสนิกชนอื่นก็สามารถปฏิบัติได้ ดังนั้น ย พ ส ล. จึงกำหนดเอาวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อเป็นวันรวมใจของชาวพุทธและชาวโลกทั้งหลายมานั่งสมาธิ เพื่อให้เป็นมรณะสติเตือนใจ และมุ่งที่จะให้เกิดสันติภาพของโลกที่แท้จริงและยั่งยืน
วันสมาธิโลก World Meditation Day เป็นวันดีที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของพวกเรา
วันนี้เป็นวันดีที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของพวกเราทุกๆ คน ที่เราได้สละเวลาอันมีค่ามาแสวงหาหนทางของพระนิพพาน เราได้วางภารกิจต่างๆ เดินทางมาจากทั่วประเทศ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ บางท่านก็เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อมาประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกัน มาสร้างสันติสุข สันติภาพให้เกิดขึ้นแก่โลก โดยเฉพาะวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก คือ ทั่วโลกนานาชาติ นานาประเทศเขากำหนดเอาว่าวันนี้เป็นวันสมาธิโลก ชาวโลกทุกคนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดต่างก็รวมกัน เพื่อทำสมาธิให้บังเกิดขึ้นในใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าวันนี้เป็นวันสันติภาพของโลก ซึ่งสันติภาพของโลกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์ทุกคนในโลกได้เข้าถึงสันติสุขภายใน
สันติสุขภายในที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อใจหยุดนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ หยุดนิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ดังนั้น การเจริญสมาธิภาวนาจึงเป็นจุดเชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดสันติภาพของโลกอย่างแท้จริง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
การเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ฉลาดในการเจริญสมาธิภาวนา มีสติตั้งมั่น มีจิตบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว พึงบรรลุนิรามิสสุข เสวยรสแห่งธรรมที่น้อมไปเพื่ออาสวักขยญาณทำให้จิตหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณยังรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ผู้นั้นย่อมถูกต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เพราะว่าการเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต อาจจะถือว่า เป็นทั้งหมดของชีวิตทีเดียว และเป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้บรรลุเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือ อายตนนิพพาน
ดังนั้น ผู้รู้ ผู้มีปัญญาทั้งหลายก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิต เพื่อการเจริญภาวนา ฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง เพราะรู้คุณค่าของเวลาจึงสงวนเวลาทุกอณุวินาทีเอาไว้สำหรับการฝึกใจ มีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับโลกธรรม 8 คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา มีสุข มีทุกข์ เพราะสิ่งเล่านี้เป็นธรรมประจำโลกที่บัณฑิตนักปราชญ์เห็นว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สาระที่แท้จริงของชีวิต จะมุ่งแสวงหาสาระ หรือของจริงที่มีอยู่ภายใน คือ พระธรรมกาย
คุณจะเป็นใคร จะมีความเชื่ออย่างไร นับถือศาสนาอะไรก็ตามล้วนมีธรรมกายทั้งสิ้น
พระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลกไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใด จะเป็นใครก็แล้วแต่ จะมีความเชื่ออย่างไร นับถือศาสนาอะไรก็ตามล้วนมีธรรมกายทั้งสิ้น เมื่อทุกๆ คน ทุกชาติ ทุกภาษา ฝึกใจให้หยุดนิ่งอย่างถูกวิธีในตำแหน่งที่ถูกต้องคือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหมือน ๆ กัน เมื่อใจหยุดแล้วก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้ เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วความเป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา จะเกิดขึ้น จะเป็นอิสระจากกิเลสอาสวะ เป็นสุขล้วน ๆ มีความสุขได้ด้วยตัวของตัวเอง เป็นนิรามิสสุข คือสุขที่ไม่เจือไปด้วยอามิส ไม่ต้องอาศัยวัตถุสิ่งของภายนอก ซึ่งผู้ที่ฉลาดหรือนักสร้างบารมีต้องแสวงหาความสุขอย่างนี้ แสวงหาความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงธรรม สุขที่เกิดจากใจหยุดใจนิ่ง เพราะความสุขชนิดนี้เยี่ยมกว่าความสุขทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านถึงได้ตรัสว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุข สุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งแล้วไม่มี เป็นรสแห่งความสุข รสแห่งธรรมที่ชนะรสทั้งปวง แล้วยังเป็นวิมุตติสุขที่จะนำไปสู่อายตนนิพพาน เป็นรสแห่งธรรมที่น้อมไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ ความสุขนี้เป็นรากฐานของชีวิต และเป็นสุดยอดแห่งความปรารถนาของมวลมนุษยชาติ ที่เราเกิดกันมาแต่ละภพแต่ละชาตินั้น ก็เพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ให้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ให้เข้าถึงสิ่งที่คงที่ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้รวมประชุมอยู่ในธรรมกายทั้งหมด
การเข้าถึงธรรมกายจะทำให้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสดชื่นเบิกบานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ฉะนั้นการเข้าถึงธรรมกาย จะทำให้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสดชื่นเบิกบานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความคิดคำพูด และการกระทำก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จะเกิดปัญญาบริสุทธิ์สามารถขจัดปัญหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปได้ความบริสุทธิ์ ความผ่องแผ้วของจิตก็จะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นมลทินทั้งหลายก็จะหมดไป มหากรุณาก็จะเกิดขึ้น มีความปรารถนาดีซึ่งกันและกัน ปรารถนาให้ทุก ๆ คนในโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ปรารถนาให้ทุกคนในโลกมีความบริสุทธิ์ ปรารถนาให้ทุกคนในโลกมีความสุข สดชื่น เบิกบานอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
เพราะฉะนั้นวันสมาธิโลกของเราวันนี้ หากทุกคนในโลกนำใจมาหยุดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในที่เดียวกันพร้อมๆ กัน และได้เข้าถึงพระธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตาแล้วสันติสุขที่แท้จริง สันติภาพที่แท้จริงของโลกก็จะบังเกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่เหลือวิสัย ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน แต่ว่าสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้าทุกคนรู้ว่า เรามีของดีอยู่ในตัว และเริ่มต้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง คือฐานที่ 7 แล้วก็ลงมือปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ทำอย่างต่อเนื่องให้ถูกวิธี ถ้าเราร่วมมือร่วมใจกันอย่างนี้ทั้งโลก โลกก็จะพลิกจากมืดมาสว่าง จากที่เป็นมลทินก็มาเป็นความบริสุทธิ์ จากความเห็นแก่ตัวก็จะมาเป็นการแบ่งปัน มีความรัก มีรอยยิ้มให้กัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ความคิดเบียดเบียนผูกโกรธ พยาบาทก็จะหมดสิ้นไป ตรงกันข้ามจะมีแต่ความเมตตา ปรารถนาดี มีการให้อภัย เสียสละ แบ่งปันซึ่งกันและกัน มีแต่ความบริสุทธิ์ มีแต่ความสุขเป็นโลกแห่งสันติสุขที่ใคร ๆ ก็ปรารถนากันมายาวนาน
ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วันออกพรรษา 2564 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีนี้ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ความสำคัญของวันออกพรรษา / คลิปบั้งไฟพญานาค / กิจกรรมในวันออกพรรษา / ตักบาตรวันออกพรรษา งานประเพณีตักบาตรเทโว / ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษาเป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว” วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลก ทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา 1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา 3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา 5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/voot.muyong เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก” วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี” ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย 2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12 ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ
วันสมาธิโลก 6 สิงหาคมของทุกปี World Meditation Day 2024 b.e. *เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อธัมมชโย วันสมาธิโลก 6 สิงหาคม พุทธศักราช 2548 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อเป็นวันรวมใจของชาวพุทธและชาวโลกทั้งหลายมานั่งสมาธิ อาจกล่าวได้ว่า ภัยที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติก็คือ “สงคราม” ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้นมาเอง และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลกนี้ ก็ยังไม่เคยมียุคใดว่างเว้นจากสงครามอย่างเด็ดขาดได้เลย คำว่า “สันติภาพ” จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลกพากันแสวงหามาโดยตลอด วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการนำระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ไปปล่อยลงที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์อันเจ็บปวดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ทำให้ชาวโลกตระหนักถึงภัยอันใหญ่หลวงของสงคราม จึงได้พยายามร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมา เพื่อรักษาสันติภาพให้แก่ประชาคมโลกนั่นคือ องค์การสหประชาชาติ ในการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย พ ส ล.) ปี พ.ศ. 2531 ได้เห็นความสำคัญของการทำสมาธิ ทั้งนี้เพราะการทำสมาธิ แม้จะเป็นธรรมปฏิบัติในพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นของสากลที่ศาสนิกชนอื่นก็สามารถปฏิบัติได้ ดังนั้น ย พ ส ล. จึงกำหนดเอาวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อเป็นวันรวมใจของชาวพุทธและชาวโลกทั้งหลายมานั่งสมาธิ เพื่อให้เป็นมรณะสติเตือนใจ และมุ่งที่จะให้เกิดสันติภาพของโลกที่แท้จริงและยั่งยืน วันสมาธิโลก World Meditation Day เป็นวันดีที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของพวกเรา วันนี้เป็นวันดีที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของพวกเราทุกๆ คน ที่เราได้สละเวลาอันมีค่ามาแสวงหาหนทางของพระนิพพาน เราได้วางภารกิจต่างๆ เดินทางมาจากทั่วประเทศ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ บางท่านก็เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อมาประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกัน มาสร้างสันติสุข สันติภาพให้เกิดขึ้นแก่โลก โดยเฉพาะวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก คือ ทั่วโลกนานาชาติ นานาประเทศเขากำหนดเอาว่าวันนี้เป็นวันสมาธิโลก ชาวโลกทุกคนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดต่างก็รวมกัน เพื่อทำสมาธิให้บังเกิดขึ้นในใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าวันนี้เป็นวันสันติภาพของโลก ซึ่งสันติภาพของโลกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์ทุกคนในโลกได้เข้าถึงสันติสุขภายใน สันติสุขภายในที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อใจหยุดนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ หยุดนิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ดังนั้น การเจริญสมาธิภาวนาจึงเป็นจุดเชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดสันติภาพของโลกอย่างแท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ฉลาดในการเจริญสมาธิภาวนา มีสติตั้งมั่น มีจิตบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว พึงบรรลุนิรามิสสุข เสวยรสแห่งธรรมที่น้อมไปเพื่ออาสวักขยญาณทำให้จิตหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณยังรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ผู้นั้นย่อมถูกต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เพราะว่าการเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต อาจจะถือว่า เป็นทั้งหมดของชีวิตทีเดียว และเป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้บรรลุเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือ อายตนนิพพาน ดังนั้น ผู้รู้ ผู้มีปัญญาทั้งหลายก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิต เพื่อการเจริญภาวนา ฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง เพราะรู้คุณค่าของเวลาจึงสงวนเวลาทุกอณุวินาทีเอาไว้สำหรับการฝึกใจ มีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับโลกธรรม 8 คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา มีสุข มีทุกข์ เพราะสิ่งเล่านี้เป็นธรรมประจำโลกที่บัณฑิตนักปราชญ์เห็นว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สาระที่แท้จริงของชีวิต จะมุ่งแสวงหาสาระ หรือของจริงที่มีอยู่ภายใน คือ พระธรรมกาย คุณจะเป็นใคร จะมีความเชื่ออย่างไร นับถือศาสนาอะไรก็ตามล้วนมีธรรมกายทั้งสิ้น พระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลกไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใด จะเป็นใครก็แล้วแต่ จะมีความเชื่ออย่างไร นับถือศาสนาอะไรก็ตามล้วนมีธรรมกายทั้งสิ้น เมื่อทุกๆ คน ทุกชาติ ทุกภาษา ฝึกใจให้หยุดนิ่งอย่างถูกวิธีในตำแหน่งที่ถูกต้องคือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหมือน ๆ กัน เมื่อใจหยุดแล้วก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้ เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วความเป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา จะเกิดขึ้น จะเป็นอิสระจากกิเลสอาสวะ เป็นสุขล้วน ๆ มีความสุขได้ด้วยตัวของตัวเอง เป็นนิรามิสสุข คือสุขที่ไม่เจือไปด้วยอามิส ไม่ต้องอาศัยวัตถุสิ่งของภายนอก ซึ่งผู้ที่ฉลาดหรือนักสร้างบารมีต้องแสวงหาความสุขอย่างนี้ แสวงหาความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงธรรม สุขที่เกิดจากใจหยุดใจนิ่ง เพราะความสุขชนิดนี้เยี่ยมกว่าความสุขทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านถึงได้ตรัสว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุข สุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งแล้วไม่มี เป็นรสแห่งความสุข รสแห่งธรรมที่ชนะรสทั้งปวง แล้วยังเป็นวิมุตติสุขที่จะนำไปสู่อายตนนิพพาน เป็นรสแห่งธรรมที่น้อมไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ ความสุขนี้เป็นรากฐานของชีวิต และเป็นสุดยอดแห่งความปรารถนาของมวลมนุษยชาติ ที่เราเกิดกันมาแต่ละภพแต่ละชาตินั้น ก็เพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ให้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ให้เข้าถึงสิ่งที่คงที่ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้รวมประชุมอยู่ในธรรมกายทั้งหมด การเข้าถึงธรรมกายจะทำให้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสดชื่นเบิกบานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นการเข้าถึงธรรมกาย จะทำให้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสดชื่นเบิกบานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความคิดคำพูด และการกระทำก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จะเกิดปัญญาบริสุทธิ์สามารถขจัดปัญหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปได้ความบริสุทธิ์ ความผ่องแผ้วของจิตก็จะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นมลทินทั้งหลายก็จะหมดไป มหากรุณาก็จะเกิดขึ้น มีความปรารถนาดีซึ่งกันและกัน ปรารถนาให้ทุก ๆ คนในโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ปรารถนาให้ทุกคนในโลกมีความบริสุทธิ์ ปรารถนาให้ทุกคนในโลกมีความสุข สดชื่น เบิกบานอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะฉะนั้นวันสมาธิโลกของเราวันนี้ หากทุกคนในโลกนำใจมาหยุดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในที่เดียวกันพร้อมๆ กัน และได้เข้าถึงพระธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตาแล้วสันติสุขที่แท้จริง สันติภาพที่แท้จริงของโลกก็จะบังเกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่เหลือวิสัย ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน แต่ว่าสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้าทุกคนรู้ว่า เรามีของดีอยู่ในตัว และเริ่มต้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง คือฐานที่ 7 แล้วก็ลงมือปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ทำอย่างต่อเนื่องให้ถูกวิธี ถ้าเราร่วมมือร่วมใจกันอย่างนี้ทั้งโลก โลกก็จะพลิกจากมืดมาสว่าง จากที่เป็นมลทินก็มาเป็นความบริสุทธิ์ จากความเห็นแก่ตัวก็จะมาเป็นการแบ่งปัน มีความรัก มีรอยยิ้มให้กัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ความคิดเบียดเบียนผูกโกรธ พยาบาทก็จะหมดสิ้นไป ตรงกันข้ามจะมีแต่ความเมตตา ปรารถนาดี มีการให้อภัย เสียสละ แบ่งปันซึ่งกันและกัน มีแต่ความบริสุทธิ์ มีแต่ความสุขเป็นโลกแห่งสันติสุขที่ใคร ๆ ก็ปรารถนากันมายาวนาน