โรงเรียนจรัสวิทยาคาร(มิตรภาพที่57)
ค้นหา

ประวัติ

การก่อตั้งโรงเรียน       

           นายจรัส  ธีรสาร นายอำเภอเสนาเป็นผู้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482  เป็นโรงเรียนประเภทนายอำเภอจัดตั้ง ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 75 คน โดยมีนายขาว กลั่มภากร ได้มอบที่ดินให้ 1 ไร่เศษ  นายนาค สุทธิประเสริฐ เจ้าของโรงจักรหัวเวียง ได้บริจาคไม้เสา จำนวน 37 ต้น ไม้พื้น 11 ยก และประชาชนร่วมบริจาค รวมสิ้นค่าก่อสร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 5,000 บาท เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 กว้าง 8.50 เมตร ยาว 27 เมตร และได้กระทำพิธีเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 โรงเรียนจรัสวิทยาคาร (มิตรภาพที่  57)   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 2   อยู่ห่างกันประมาณ  4.00  กิโลเมตร  โรงเรียนจัดตั้งขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2482  โดยมีนายจรัส  ธารีสาร  นายอำเภอเสนา  เป็นผู้จัดตั้ง  ครั้งแรกเปิดสอนตั้งแต่ชั้น  ป. 1 ถึง ป. 4  โดยมีนายขาว  กลั่มภากร  ได้มอบที่ดินให้จำนวน 1 ไร่เศษ  เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน และได้ทำการเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ. 2483

                 ปี พ.ศ. 2502  นายมงคล  ชินประหัษฐ์ ครูใหญ่ และคณะครูพิจารณาว่าอาคารเรียนชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้นำเรื่องหารือกับ นายประมวล  รังศิคุต นายอำเภอเสนาในขณะนั้น และ           นายผดุง  สุวนิช สมาชิกสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับความเห็นชอบให้ทำการซ่อมแซมอาคารเรียน โดยได้ติดต่อของบประมาณจากสภาจังหวัดพระนคศรีอยุธยา จำนวนเงิน 5,200 บาท และได้ดำเนินการซ่อมแซมผนังและสร้างชานหน้าห้องเรียน

                 ปี พ.ศ. 2507 นายมงคล  ชินประหัษฐ์ ครูใหญ่ คณะครู และกรรมการศึกษา เห็นว่า เก้าอี้นักเรียนชำรุดไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จึงได้ขอความกรุณาจากนายผดุง สุวนิช สมาชิกสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของบประมาณ จำนวน 8,000 บาท และประชาชนร่วมบริจาค 2,000 บาท จัดสร้างโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน จำนวน 100 ชุด

                 ปี พ.ศ.  2511 นายประหยัด  ไตรพิจารณ์ ครูใหญ่ คณะครู และกรรมการศึกษา ประชาชน หารือว่าอาคารเรียนชุำรุดทรุดโทรมมากสมควรที่จะจัดสร้างใหม่ ซึ่งถ้าปล่อยไว้วัสดุพอใช้ได้จะเสียหายหมด จึงได้นำเรื่องไปชี้แจงกับ นายไพบูลย์  วัฒนาพานิชย์ นายอำเภอ และนายมงคล  ศัพทเสวี ศึกษาธิการอำเภอเสนา ได้รับความเห็นชอบ และได้ติดต่อกับจังหวัด และคณะกรรมการมูลนิธิมิตรภาพ จัดการโดดร่มและแข่งขันฟุตบอลขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2511 มูลนิธิมิตรภาพได้มอบเงินให้ 9,000  บาท กรรมการศึกษา ประชาชนและผู้ปกครอง ร่วมบริจาคสมทบ จำนวน 10,000 บาท องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 65,648 บาท และบริจาคเพิ่มเติม 18,000 บาท นายผดุง  สุวนิช บริจาค 1,000 บาท และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข ดัดแปลง จำนวน 1 หลัง สิ้นค่าก่อสร้าง 170,000 บาท และก่อสร้างส้อม 1 หลัง เป็นแบบสร้างเอง สิ้นค่าก่อสร้าง 11,000 บาท และสมทบสร้างสะพานหลังอาคารเรียน จำนวนเงิน 6,657 บาท การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเม่ือวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2511

                 ปี พ.ศ. 2512 พลโทสายหยุด เกิดผล ประธานกรรมการมิตรภาพ และพลตรี Jack Wagstaff  ประธานมูลนิธิมิตรภาพ ไดมาทำพิธีมอบอาคารเรียนต่อนายจำนงค์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เม่ือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เป็นการมอบอาคารเรียนให้กับทางราชการหลังที่ 57

                 ปี พ.ศ. 2518 ได้งบประมาณจากทางราชการ ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 แบบ ป.1ข จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน ค่าก่อสร้าง เป็นเงิน 234,000 บาท และก่อสร้างบ้านพักครู แบบสามัญ เป็นเงิน 40,000 บาท

                 ปี พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ ก่อสร้างบ้านพักครู หลังที่ 2 แบบ จ.อย.001 จำนวน 1 หลัง 2 ห้อง งบประมาณ 70,000 บาท

                 ปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง แบบ สปช.204/26 งบประมาณ 417,000 บาท พร้อมคุรุภัณฑ์ และได้รับงบประมาณก่อสร้างส้อม แบบ จ.อย.401 จำนวน 1 หลัง 3 ที่นั่ง เป็นเงิน 30,000 บาท

                 ปี พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชำ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 10,000 บาท และเม่ือวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้เกิดวาตภัย พัเรือนเพาะชำชำรุด โรงเรียนได้ดำเนินการแว่มแซมโดยใช้วัสดุที่ทางโรงเรียนมีอยู่ ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ศ.33 เป็นเงิน 35,000 บาท  และได้รับเงินปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนหลังที่ 2 โดยเปลี่ยนเสาอาคารเรียน จำนวน 17 ต้น

                  ปี 2540 ได้รับอนุญาตจากสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

                  ปี 2543 ได้รับเงินบริจาค จากคณะครู ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล ก่อสร้างส้อม 1 หลัง 4 ที่นั่ง งบประมาณ 120,000 บาท และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณจากทางราชการให้ขุดบ่อเลี้ยงปลา ตามแบบกรมประมง ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 60 เมตร ลึก 1.50 เมตร

                  ปี 2544 นายพิสูจน์วันละคำ อาจารย์ใหญ่ พร้อมด้วยคณะครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ได้จัดทอดผ้าป่าสามัคคีเพ่ือการศึกษาได้รับบริจาคเงิน 270,000 บาท เพื่อย้ายอาคารเรียน แบบ ป.1ข จำนวน 3 ห้อง ไปก่อสร้างทางทิศเหนือ โดยมีการดัดแปลงรากฐานและยกเสาให้สูงขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์เป็นโรงอาหาร

                  ปี พ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 8 ห้องเรียน งบประมาณ 2,224,000 บาท และได้รับงบประมาณค่าสร้างส้อม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง งบประมาณ 90,500 บาท ได้ดำเนินก่อสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จ เม่ือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และได้ทำการเปิดใช้อาคารเรียนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาณจากส่วนราชการในการติดตั้งจานดาวเทียมจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม พร้อมอุปกรณ์ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 3 ชุด เปิดให้บริการนักเรียนตั้งแต่ ปีการศึกษา. 2546

                  ปี 2546 ได้รับเงินบริจาค จากนายธงชัย  พุฒิใจกล้า จำนวน 10,000 บาท เพื่อปรับปรุงแท่นเสาธงชาติ

                  ปี พ.ศ. 2548 ได้รับเงินบริจาคเงิน จากกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านหลวง จำนวน 13,918 บาท เพื่อจัดซื้อแท่นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน

                  ปี พ.ศ. 2550 ได้รับเงินบริจาค จากบริษัทครูเซลประเทศไทยจำกัด จำนวน 150,000 บาท เพ่ือปรับปรุงซ่อมแซมอาคารอเนกประสงค์ เป็นห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

                  ปี พ.ศ. 2552 ได้รับเงินงบประมาณจากทางราชการ เพ่ือปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.1ข โดนเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ฝ้าเพดาน และเชิงชาย

                  ปี พ.ศ.2553 ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพัฒนาชีวิตในชนบท สนับสนุนงบประมาณ 200,000 บาทเศษ เพื่อก่อตั้งโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่และดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน จำนวน 150 ตัว

                  ปี พ.ศ. 2554 เกิดมหาอุทกตภัย ทำใหโรงเรียนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณโรงเรียนได้รับผลกระทบ ชำรุดทรุดโทรมมาก คณะครูได้ทำการประมาณการเพื่อขอรับการช่วยเหลือจาก สพป.อยุธยา เขต 2 และได้รับงบประมาณ 1,271,000 บาท เพ่ือปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

       ปี พ.ศ. 2555 ได้รับงบประมาณจำนวน 1,271,000 บาท  ค่าปรับปรุงซ่อมแซม อาคารเรียน ที่ได้ รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยได้เคลื่อนย้ายและยกอาคาร  แบบ ป.1 ข. ดัดแปลง  เปลี่ยนเสาสูง  4.30 เมตร ถมดิน ถมทราย เทคานคอดินและเทพื้นคอนกรีต  ปูกระเบื้องเคลือบอาคารเรียน แบบ สปช.105/29  ปรับปรุงซ่อมแซมห้องส้วม แบบ สปช.601/26  และได้ทำการรื้อถอนบ้านพักครู  แบบ จ.อย.001  จำนวน 1 หลัง เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมากเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อนักเรียน  เพื่อใช้พื้นที่ในการเคลื่อนย้ายอาคารเรียน แบบ ป.1 ข ดัดแปลง ส่วนวัสดุที่รื้อถอนได้นำไปปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป. 1 ข ดัดแปลง  จัดทำโต๊ะอาหารนักเรียนในโรงอาหาร  จำนวน 10 ชุด  และซ่อมแซมสะพานข้ามคลองลาว

     ปี พ.ศ. 2557 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ  จำนวน 796,000 บาท  ค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป. 1 ข ดัดแปลง  จำนวน  4  ห้องเรียน  โดยการต่อเติมชั้นล่าง และได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.1 ข จำนวน 268,000 บาท โดยการเปลี่ยนฝาผนัง ประตูหน้าต่าง ไม้พื้นและทาสีอาคารเรียน  และได้รับงบปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.1 ข ดัดแปลง  จำนวน  268,000 บาท โดยการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา  ซ่อมแซมเชิงชาย  ฝ้าเพดานด้านนอกและทาสีอาคาร  และได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ งบประมาณ 110,000  บาท

     ปี พ.ศ. 2559 ได้รับงบประมาณโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล  จำนวน 280,000 บาท  จัดทำกันสาดหน้าอาคารเรียนแบบ ป.1 ข และอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 และเทถนนคอนกรีตทางเข้าโรงเรียนและได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมนักเรียนหญิง แบบหญิง/49 งบประมาณ 470,000 บาท

     ปี พ.ศ. 2560 ได้ทำการรื้อถอนบ้านพักครู  แบบ กรมสามัญ  จำนวน 1  หลัง  เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมากเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อนักเรียน  และได้รับงบประมาณจากบริษัททรูคอร์เปอร์เรชั่น  จำกัดมหาชน  ตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ  จำนวน 80,000  บาท เพื่อดำเนินการตามโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรครบวงจร และได้รับงบประมาณก่อสร้างเขื่อนกันดิน งบประมาณ  493,000  บาท

     ปี พ.ศ. 2561  ได้รับงบประมาณจัดซื้อสื่อ จากบริษัทนานมีบุ๊คส์จำกัด  จำนวน  50,000  บาท  ได้รับงบประมาณจากบริษัทเนสเลย์ประเทศไทย จำกัด จำนวน 7,000  บาท ทำบ่อดักไขมัน

     ปี พ.ศ. 2562  ผู้อำนวยการโรงเรียนนางธารทิพย์  ศรีบูรพาภิรมย์ ร่วมกับคณะครูและบุคลากรเสนอของบตามโครงการโรงเรียนประชารัฐได้รับงบประมาณ จากบริษัททรูคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 109,528 บาท  (รออนุมัติ) ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการของสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โครงการส่งเสริมทักษะชีวิตด้วย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน  30,998  บาท  ใช้ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ (ขออนุมัติแล้ว รอรับเงินงบประมาณจากกองทุน)  ในปีงบประมาณ 2562 นี้ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้ใจบุญมอบงบประมาณในการติดตั้งน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคเข้ามาใช้ภายในโรงเรียนโดยใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 88,600  บาท และได้ขอขยายเขตไฟฟ้าจาก single Fast เป็น Three Fast เพื่อป้องกันไฟฟ้าตกกระชาก ใช้งบประมาณจากเงินบริจาคผ้าป่า โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน  32,000  บาท

ปัจจุบันโรงเรียนจรัสวิทยาคาร(มิตรภาพที่ 57) เปิดทำการเรียนการสอน 3 ระดับ  คือ ระดับปฐมวัย  ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สภาพของชุมชนโดยรอบโรงเรียนเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 100 ประชากรมีอาชีพหลากหลาย  ทำนา ทำสวน  ค้าขาย รับจ้างโรงงานอุตสาหกรรมและรับจ้างทั่วไป 

CONNECT WITH US