ข้อมูลโรงเรียน
วันที่ 13 ม.ค. 2568 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งอยู่ที่ 13 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ซอย 8แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างกรมประชาสงเคราะห์เจ้าของที่ดินกับกรมสามัญศึกษาในเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา โดยกำหนดให้มีระดับอนุบาลรวมกับประถมศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าซื้ออาคารสงเคราะห์ที่กรมประชาสงเคราะห์ได้จัดสร้างขึ้นและได้เปิดสอนในวันที่18 พฤษภาคม2507 เป็นวันแรกมีนายสูริน สุพรรรณรัตน์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสายน้ำทิพย์มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2507
ในระยะแรก ๆ โรงเรียนได้พบอุปสรรคนานัปการ ตั้งแต่งบประมาณในการก่อสร้างพัสดุครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะเรียน ม้านั่ง ได้ยืมมาจากโรงเรียนสายน้ำทิพย์ โรงเรียนวัดใหม่ช่องลมมาใช้เป็นการชั่วคราว แม้แต่จำนวนนักเรียนที่ทางโรงเรียนเปิดห้องเรียนไว้รอรับระดับอนุบาลเปิดรับ 2 ห้องเรียน 60 คน มาสมัคร 40 คน หรือ ป.5 เปิดรับ 4 ห้องเรียน ก็มีมาสมัครเพียง 140 คน และส่วนมากเป็นนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนอื่นไม่ได้กรมสามัญก็จะแนะนำมาเพราะจริง ๆ แล้วมีมาสมัครเรียนโดยตรง 7 คนเท่านั้น น้ำประปาก็ต้องอาศัยน้ำประปาจากบ้านข้างเคียง
แต่ด้วยความมุ่งมั่นของครูใหญ่ที่จะพัฒนาโรงเรียนนี้ให้เข้าสู่เป้าหมาย ทำให้ในปลายปี 2509กรมสามัญศึกษา (ต้นสังกัดเดิม)ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โรงเรียนจึงมีอาคารเต็มรูปแบบประกอบด้วยอาคารเรียน 3 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลัง ห้องประชุม ห้องส้วม 2 หลัง บ้านพักครูใหญ่ 1 หลัง ส่วนในด้านการเรียนการสอนได้พยายามดำเนินการให้เป็นไปตามหลักสูตร วางรากฐานการคัดลายมือของนักเรียนให้เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน งานวิชาการได้รับการพัฒนามาตลอด
ผู้ปกครองมีความศรัทธานำบุตรหลานมาเรียนมากขึ้นจนโรงเรียนไม่สามารถรับไว้ได้อาคารเรียนมีไม่เพียงพอดังนั้นในปี พ.ศ.2527 ได้รื้ออาคารไม้ 2 ชั้น หลังแรกของโรงเรียนออกและสร้างอาคารแบบรัตนโกสินทร์ 4 ชั้น จำนวน 20 ห้องเรียนขึ้นแทน (อาคาร 1)
พ.ศ. 2531 – 2532 ได้รื้ออาคารอนุบาลและโรงฝึกงาน 1 หลังแล้วสร้างอาคารแบบ สปช. 2/28 เป็นตึก 3 ชั้น
จำนวน 18 ห้องเรียน (อาคาร 2)
พ.ศ. 2535 ได้รื้อห้องประชุมและโรงฝึกงานอีก 1 หลัง เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษวัดปากน้ำเป็นตึก 4 ชั้น
จำนวน 15 ห้องเรียน (อาคาร 3)
พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษเป็นสถานประกอบอาหาร และสำหรับเรียนวิชางานบ้าน
ขนาด 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2541 ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆจัดสร้างอาคารโดมเป็นอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง
เพื่อใช้เป็นที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
พ.ศ. 2544 ได้รับอนุมัติใช้เงินบำรุงการศึกษาจากสำนักงานประมาณจัดสร้างโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบอาหารกลางวัน
พ.ศ. 2545 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆและเงินบำรุงการศึกษาจากสำนักงบประมาณปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์และจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
พ.ศ. 2546 ได้ขออนุญาตทุบกำแพงกั้นห้องเรียนอาคารปากน้ำชั้น 3 จาก 3 ห้อง เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาด 2 ห้อง
จัดคอมพิวเตอร์เข้าห้องละ 40 เครื่อง ส่วนหนึ่งใช้งบประมาณจากเงินสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆและเงินบำรุงการศึกษา นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสามารถใช้งานได้
พ.ศ. 2547 ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนโดยการปูกระเบื้องระเบียงชั้นที่ 2- 4 ในส่วนของชั้นที่ 1 และบริเวณด้านหลังอาคารเรียนเพื่อให้ดูสวยงาม โดยใช้เงินบำรุงการศึกษานอกจากนี้ได้ปูกระเบื้องระเบียงทางด้านอาคารปากน้ำในส่วนที่ยังเป็นพื้นซีเมนต์ ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา โดยใช้งบประมาณจากเงินบำรุงการศึกษาเช่นกันอีกทั้งมีการปรับปรุงห้องสมุดใหม่โดยขยายเป็น 3 ห้องเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศในการเข้าใช้ห้องสมุดระบบ ICT มีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง และจัดหาหนังสือใหม่มาให้บริการเพิ่มเติมได้เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2548 ได้จัดงบประมาณจากโครงการโรงเรียนในฝันจัดตั้งศูนย์คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ศูนย์ต้นแบบปฐมวัย จากงบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ศูนย์ภาษาอังกฤษ และปรับปรุงห้องนาฏศิลป์โดยย้ายจากอาคารปากน้ำไปไว้ที่อาคารรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันจัดหาคอมพิวเตอร์ให้ 40 เครื่อง จึงต้องเปิดห้องคอมพิวเตอร์เป็นห้องที่ 3 ที่อาคารรัตนโกสินทร์ และจัดแบ่งพื้นที่ต่อจากห้องคอมพิวเตอร์เป็นห้องวิทยาศาสตร์เพิ่มอีก 1 ห้อง นอกจากนั้นได้ปรับตกแต่งห้องสำนักอำนวยการ ห้องรองผู้อำนวยการให้มีสภาพเอื้อต่อการทำงาน และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ทาสีอาคารเรียน อาคารอเนกประสงค์ จัดทำสวนหย่อมบริเวณสนามเพื่อให้เกิดความสวยงาม และได้ผ่านการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2549
ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิเสริมสร้างไทยมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 ชุด สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ได้รับความไว้วางใจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ นอกจากนี้โรงเรียนได้รับการยอมรับในด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานด้านการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนปฐมวัยในงานมหัศจรรย์เด็กไทย : มหกรรมปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การกระจายอำนาจและขยายโอกาสทางการศึกษา) เมื่อวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ณ อิมแพคเมืองทองธานี นอกจากนี้เป็นที่ศึกษาดูงานการจัดการปฐมวัยของโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Healthy School Healthy System) ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโรงเรียนให้มีระบบการทำงานที่ดี มีขั้นตอนที่ชัดเจน ผู้บริหารและครูจึงได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการพัฒนาระบบและนำไปใช้ผ่านการประเมินจึงได้รับเกียรติบัตรผลงานที่เป็นเลิศ (Best Pracetices) ด้านชุมชนสัมพันธ์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550ผู้อำนวยการพัชรีภรณ์ จ้อยจุมพจน์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อจากท่านผู้อำนวยการชลอ มงคลการุณย์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ
การพัฒนาดำเนินงานโดยต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ให้ความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายดำเนินการงานปรับปรุงอาคารสถานที่ อาทิ
1. นายรังสรรค์ คงเที่ยง จัดตั้งศาลพระภูมิใหม่ จัดทำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ปิดทององค์พระ ภาพจิตรกรรมฝาผนังและปรับปรุงหอพระ ซ่อมแซมอาคารไม้ 2 ชั้น ปรับปรุงเป็นห้องจริยธรรม ห้องพยาบาล ห้องสมุดการ์ตูน และสร้างสระว่ายน้ำให้โรงเรียน
2. สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ให้ความอนุเคราะห์ต่อเติมหลังคาสนามเอนกประสงค์
3. การเคหะแห่งชาติ เทพื้นคอนกรีตทางเดินและสนามเอนกประสงค์
4. งานสหกรณ์โรงเรียน ปรับปรุงทาสีพื้นสนามเอนกประสงค์
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วมทุกอาคาร ปูกระเบื้องอาคารจากความร่วมมือ และมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่าย ส่งผลให้โรงเรียนได้รับความไว้วางใจและได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงาน อาทิ
พ.ศ. 2551 - เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจรุ่น 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายยุวทูตความดี จากกระทรวงการต่างประเทศ
- โล่และเข็มผลงานดีเด่น สาขาการศึกษาก่อนประถมศึกษา จากมูลนิธิสมาน
- คุณหญิงเบญจา แสงมลิ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
- เกียรติบัตรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้องช่วยเหลือโรงเรียน
ในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ 2552 - โรงเรียนในโครงการการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- รางวัลเกียรติคุณการพัฒนาการจัดคุณภาพเชิงระบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice) ในระบบการเรียนรู้ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้
- รางวัลที่ 1 ห้องสมุดมีชีวิตที่ยั่งยืนและมุมหนังสือในสถานศึกษายอดเยี่ยม สพท. กทม. เขต 1
พ.ศ. 2553 - โล่รางวัลชนะเลิศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านดีเด่นระดับประเทศ ระดับประถมศึกษา
จากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2554 - โล่เกียรติคุณ การส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา สำนักเรียนวัดยานนาวา
- ได้รับคัดเลือกจัดแสดงผลงานดีเด่นการจัดการศึกษาปฐมวัย ( Best Practice) “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท”
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2555 - สถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2556 - รางวัลเหรียญทองระดับปเทศ นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านโครงงานคณิตศาสตร์ (Best of the Best Practice)
งาน Lab School Symposium2013 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2557 - ประกาศเกียรติคุณการประเมินความสะอาดและสิ่งแวดล้อมของอาคารสถานที่ตาม มาตรฐาน Clean And Green
ระดับดีเลิศกรุงเทพมหานคร
- สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ประจำปี 2556
- รางวัลชมเชยนักเรียนพระราชทาน ระดับประถมศึกษา “เด็กหญิงนัยปพร เกื้อสุข” ประจำปี 2556
- รางวัลชนะเลิศสถานศึกษามีคุณภาพ เยาวชนมีความรู้ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ จากการแข่งขันรายการ
นักคิดตะลุยอาเซี่ยน Zence 9 อสมท.
ปลายปี พ.ศ. 2557 นางสาวเมธิกานต์ เพชรดล ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เพิ่มห้องเรียน MEP (Mini English Program) SMEP (Science-Math English Program) และ IEP(Integrated English Program)
พ.ศ. 2558 - โล่เกียรติคุณ “ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2558 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีการพัฒนาระดับยอดเยี่ยม ”จากสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2559 - โรงเรียนได้เปิดสอนในหลักสูตร Mini English Program และได้รับการรับรองหลักสูตรจากระทรวงศึกษาธิการ
ในช่วงปลายปี 2559 นางสุดารัตน์ พลแพงพา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนทุ่งมหาเมฆด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านวิชาการและหลักสูตร
1) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560-2564 เป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
2) ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ คือ หลักสูตร MEP และหลักสูตรปกติที่นักเรียนทุกคนจะได้มีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศกับเจ้าของภาษา
3) ได้พัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์การสอบ O-NET ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นจากเดิมจนติด
อันดับ Top Ten ในระดับเขตพื้นที่การ
4) ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงดิจิทัลและไอซีทีให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขัน ACC 2018 โปรแกรม Scratchที่ประเทศบรูไนเมื่อปีศึกษา พ.ศ.2561
5) ได้ปรับปรุงแบบคัดลายมือของโรงเรียนให้มีความสอดคล้อง และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยแบ่งเป็น 3ระดับ
6) มีผลการทดสอบระดับชาติในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(NT) สูงกว่าระดับประเทศและต้นสังกัดติดอันดับ Top Ten
ในระดับเขตพื้นที่ ลำดับที่ 7
7) โรงเรียนได้รับรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรมของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2563
ด้านบริหารทั่วไปและอาคารสถานที่
1)ปี 2562 โรงเรียนได้รับรางวัล IQA Awardจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)โรงเรียนได้ปรับปรุงบริเวณโรงอาหารให้พอเพียงกับจำนวนโรงเรียน และปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนให้มีสภาพพร้อม ใช้ สวยงามปลอดภัยสำหรับนักเรียน
3) จัดทำห้องประชุมมหาเมฆ 3 ห้องเกียรติภูมิทุ่งมหาเมฆ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องResource Centre ห้องReading Lounge สวนลอยฟ้า Rooftop Garden, สวน Hidden Garden, สวน Asian Hub,สวนวรรณคดี และสวน Farm de Tung
ด้านงบประมาณ
1)ได้ของบประมาณปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนทั้ง 3 อาคาร และจัดทำรั้วรอบโรงเรียน
2)ให้บริการรับชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ด้านบุคลากร
1) นางสุดารัตน์ พลแพงพา ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ได้รับรางวัลผลงานรูปแบบ / วิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practice) ในการประกวดผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีพุทธศักราช 2564
2) นางลดาวัลย์ เกื้อสุข รองผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ได้รับโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ ในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่นประจำปีพุทธศักราช2563 จากสมาคมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย
3) นางสาวนฤมล เนียมหอม ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลครูขวัญศิษย์ ประจำปี 2562
จากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
4) เด็กชายกันต์ดนย์ ธีระรัฐพงษ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการและได้รับโล่เกียรติคุณ เป็นเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน จากกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2564
5) เด็กชายกันต์ดนย์ ธีระรัฐพงษ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนพระราชทานปีการศึกษา 2564
ในปัจจุบันโรงเรียนทุ่งมหาเมฆเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานของหน่วยงานหลายคณะจากทั่วประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับการสนับสนุนและศรัทธาจากชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง ขณะนี้โรงเรียนทุ่งมหาเมฆมีห้องเรียน21 ห้องเรียน ครูและบุคลากร 39คน และนักเรียน 630คน ด้วยความเสียสละวิริยะอุตสาหะของผู้บริหาร ครูอาจารย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และผู้ปกครองให้ความไว้วางใจมีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการทำงานของครู-อาจารย์ นำบุตรหลานเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมากจึงเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆที่จะปฏิรูปการเรียนการสอนเข้าสู่มาตรฐานสากลในอนาคต ตามปรัชญาของโรงเรียน“สอนดี เรียนดี มีน้ำใจ” ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
ในระยะแรก ๆ โรงเรียนได้พบอุปสรรคนานัปการ ตั้งแต่งบประมาณในการก่อสร้างพัสดุครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะเรียน ม้านั่ง ได้ยืมมาจากโรงเรียนสายน้ำทิพย์ โรงเรียนวัดใหม่ช่องลมมาใช้เป็นการชั่วคราว แม้แต่จำนวนนักเรียนที่ทางโรงเรียนเปิดห้องเรียนไว้รอรับระดับอนุบาลเปิดรับ 2 ห้องเรียน 60 คน มาสมัคร 40 คน หรือ ป.5 เปิดรับ 4 ห้องเรียน ก็มีมาสมัครเพียง 140 คน และส่วนมากเป็นนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนอื่นไม่ได้กรมสามัญก็จะแนะนำมาเพราะจริง ๆ แล้วมีมาสมัครเรียนโดยตรง 7 คนเท่านั้น น้ำประปาก็ต้องอาศัยน้ำประปาจากบ้านข้างเคียง
แต่ด้วยความมุ่งมั่นของครูใหญ่ที่จะพัฒนาโรงเรียนนี้ให้เข้าสู่เป้าหมาย ทำให้ในปลายปี 2509กรมสามัญศึกษา (ต้นสังกัดเดิม)ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โรงเรียนจึงมีอาคารเต็มรูปแบบประกอบด้วยอาคารเรียน 3 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลัง ห้องประชุม ห้องส้วม 2 หลัง บ้านพักครูใหญ่ 1 หลัง ส่วนในด้านการเรียนการสอนได้พยายามดำเนินการให้เป็นไปตามหลักสูตร วางรากฐานการคัดลายมือของนักเรียนให้เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน งานวิชาการได้รับการพัฒนามาตลอด
ผู้ปกครองมีความศรัทธานำบุตรหลานมาเรียนมากขึ้นจนโรงเรียนไม่สามารถรับไว้ได้อาคารเรียนมีไม่เพียงพอดังนั้นในปี พ.ศ.2527 ได้รื้ออาคารไม้ 2 ชั้น หลังแรกของโรงเรียนออกและสร้างอาคารแบบรัตนโกสินทร์ 4 ชั้น จำนวน 20 ห้องเรียนขึ้นแทน (อาคาร 1)
พ.ศ. 2531 – 2532 ได้รื้ออาคารอนุบาลและโรงฝึกงาน 1 หลังแล้วสร้างอาคารแบบ สปช. 2/28 เป็นตึก 3 ชั้น
จำนวน 18 ห้องเรียน (อาคาร 2)
พ.ศ. 2535 ได้รื้อห้องประชุมและโรงฝึกงานอีก 1 หลัง เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษวัดปากน้ำเป็นตึก 4 ชั้น
จำนวน 15 ห้องเรียน (อาคาร 3)
พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษเป็นสถานประกอบอาหาร และสำหรับเรียนวิชางานบ้าน
ขนาด 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2541 ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆจัดสร้างอาคารโดมเป็นอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง
เพื่อใช้เป็นที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
พ.ศ. 2544 ได้รับอนุมัติใช้เงินบำรุงการศึกษาจากสำนักงานประมาณจัดสร้างโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบอาหารกลางวัน
พ.ศ. 2545 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆและเงินบำรุงการศึกษาจากสำนักงบประมาณปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์และจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
พ.ศ. 2546 ได้ขออนุญาตทุบกำแพงกั้นห้องเรียนอาคารปากน้ำชั้น 3 จาก 3 ห้อง เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาด 2 ห้อง
จัดคอมพิวเตอร์เข้าห้องละ 40 เครื่อง ส่วนหนึ่งใช้งบประมาณจากเงินสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆและเงินบำรุงการศึกษา นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสามารถใช้งานได้
พ.ศ. 2547 ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนโดยการปูกระเบื้องระเบียงชั้นที่ 2- 4 ในส่วนของชั้นที่ 1 และบริเวณด้านหลังอาคารเรียนเพื่อให้ดูสวยงาม โดยใช้เงินบำรุงการศึกษานอกจากนี้ได้ปูกระเบื้องระเบียงทางด้านอาคารปากน้ำในส่วนที่ยังเป็นพื้นซีเมนต์ ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา โดยใช้งบประมาณจากเงินบำรุงการศึกษาเช่นกันอีกทั้งมีการปรับปรุงห้องสมุดใหม่โดยขยายเป็น 3 ห้องเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศในการเข้าใช้ห้องสมุดระบบ ICT มีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง และจัดหาหนังสือใหม่มาให้บริการเพิ่มเติมได้เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2548 ได้จัดงบประมาณจากโครงการโรงเรียนในฝันจัดตั้งศูนย์คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ศูนย์ต้นแบบปฐมวัย จากงบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ศูนย์ภาษาอังกฤษ และปรับปรุงห้องนาฏศิลป์โดยย้ายจากอาคารปากน้ำไปไว้ที่อาคารรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันจัดหาคอมพิวเตอร์ให้ 40 เครื่อง จึงต้องเปิดห้องคอมพิวเตอร์เป็นห้องที่ 3 ที่อาคารรัตนโกสินทร์ และจัดแบ่งพื้นที่ต่อจากห้องคอมพิวเตอร์เป็นห้องวิทยาศาสตร์เพิ่มอีก 1 ห้อง นอกจากนั้นได้ปรับตกแต่งห้องสำนักอำนวยการ ห้องรองผู้อำนวยการให้มีสภาพเอื้อต่อการทำงาน และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ทาสีอาคารเรียน อาคารอเนกประสงค์ จัดทำสวนหย่อมบริเวณสนามเพื่อให้เกิดความสวยงาม และได้ผ่านการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2549
ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิเสริมสร้างไทยมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 ชุด สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ได้รับความไว้วางใจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ นอกจากนี้โรงเรียนได้รับการยอมรับในด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานด้านการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนปฐมวัยในงานมหัศจรรย์เด็กไทย : มหกรรมปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การกระจายอำนาจและขยายโอกาสทางการศึกษา) เมื่อวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ณ อิมแพคเมืองทองธานี นอกจากนี้เป็นที่ศึกษาดูงานการจัดการปฐมวัยของโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Healthy School Healthy System) ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโรงเรียนให้มีระบบการทำงานที่ดี มีขั้นตอนที่ชัดเจน ผู้บริหารและครูจึงได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการพัฒนาระบบและนำไปใช้ผ่านการประเมินจึงได้รับเกียรติบัตรผลงานที่เป็นเลิศ (Best Pracetices) ด้านชุมชนสัมพันธ์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550ผู้อำนวยการพัชรีภรณ์ จ้อยจุมพจน์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อจากท่านผู้อำนวยการชลอ มงคลการุณย์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ
การพัฒนาดำเนินงานโดยต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ให้ความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายดำเนินการงานปรับปรุงอาคารสถานที่ อาทิ
1. นายรังสรรค์ คงเที่ยง จัดตั้งศาลพระภูมิใหม่ จัดทำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ปิดทององค์พระ ภาพจิตรกรรมฝาผนังและปรับปรุงหอพระ ซ่อมแซมอาคารไม้ 2 ชั้น ปรับปรุงเป็นห้องจริยธรรม ห้องพยาบาล ห้องสมุดการ์ตูน และสร้างสระว่ายน้ำให้โรงเรียน
2. สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ให้ความอนุเคราะห์ต่อเติมหลังคาสนามเอนกประสงค์
3. การเคหะแห่งชาติ เทพื้นคอนกรีตทางเดินและสนามเอนกประสงค์
4. งานสหกรณ์โรงเรียน ปรับปรุงทาสีพื้นสนามเอนกประสงค์
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วมทุกอาคาร ปูกระเบื้องอาคารจากความร่วมมือ และมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่าย ส่งผลให้โรงเรียนได้รับความไว้วางใจและได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงาน อาทิ
พ.ศ. 2551 - เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจรุ่น 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายยุวทูตความดี จากกระทรวงการต่างประเทศ
- โล่และเข็มผลงานดีเด่น สาขาการศึกษาก่อนประถมศึกษา จากมูลนิธิสมาน
- คุณหญิงเบญจา แสงมลิ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
- เกียรติบัตรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้องช่วยเหลือโรงเรียน
ในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ 2552 - โรงเรียนในโครงการการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- รางวัลเกียรติคุณการพัฒนาการจัดคุณภาพเชิงระบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice) ในระบบการเรียนรู้ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้
- รางวัลที่ 1 ห้องสมุดมีชีวิตที่ยั่งยืนและมุมหนังสือในสถานศึกษายอดเยี่ยม สพท. กทม. เขต 1
พ.ศ. 2553 - โล่รางวัลชนะเลิศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านดีเด่นระดับประเทศ ระดับประถมศึกษา
จากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2554 - โล่เกียรติคุณ การส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา สำนักเรียนวัดยานนาวา
- ได้รับคัดเลือกจัดแสดงผลงานดีเด่นการจัดการศึกษาปฐมวัย ( Best Practice) “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท”
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2555 - สถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2556 - รางวัลเหรียญทองระดับปเทศ นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านโครงงานคณิตศาสตร์ (Best of the Best Practice)
งาน Lab School Symposium2013 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2557 - ประกาศเกียรติคุณการประเมินความสะอาดและสิ่งแวดล้อมของอาคารสถานที่ตาม มาตรฐาน Clean And Green
ระดับดีเลิศกรุงเทพมหานคร
- สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ประจำปี 2556
- รางวัลชมเชยนักเรียนพระราชทาน ระดับประถมศึกษา “เด็กหญิงนัยปพร เกื้อสุข” ประจำปี 2556
- รางวัลชนะเลิศสถานศึกษามีคุณภาพ เยาวชนมีความรู้ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ จากการแข่งขันรายการ
นักคิดตะลุยอาเซี่ยน Zence 9 อสมท.
ปลายปี พ.ศ. 2557 นางสาวเมธิกานต์ เพชรดล ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เพิ่มห้องเรียน MEP (Mini English Program) SMEP (Science-Math English Program) และ IEP(Integrated English Program)
พ.ศ. 2558 - โล่เกียรติคุณ “ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2558 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีการพัฒนาระดับยอดเยี่ยม ”จากสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2559 - โรงเรียนได้เปิดสอนในหลักสูตร Mini English Program และได้รับการรับรองหลักสูตรจากระทรวงศึกษาธิการ
ในช่วงปลายปี 2559 นางสุดารัตน์ พลแพงพา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนทุ่งมหาเมฆด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านวิชาการและหลักสูตร
1) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560-2564 เป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
2) ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ คือ หลักสูตร MEP และหลักสูตรปกติที่นักเรียนทุกคนจะได้มีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศกับเจ้าของภาษา
3) ได้พัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์การสอบ O-NET ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นจากเดิมจนติด
อันดับ Top Ten ในระดับเขตพื้นที่การ
4) ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงดิจิทัลและไอซีทีให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขัน ACC 2018 โปรแกรม Scratchที่ประเทศบรูไนเมื่อปีศึกษา พ.ศ.2561
5) ได้ปรับปรุงแบบคัดลายมือของโรงเรียนให้มีความสอดคล้อง และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยแบ่งเป็น 3ระดับ
6) มีผลการทดสอบระดับชาติในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(NT) สูงกว่าระดับประเทศและต้นสังกัดติดอันดับ Top Ten
ในระดับเขตพื้นที่ ลำดับที่ 7
7) โรงเรียนได้รับรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรมของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2563
ด้านบริหารทั่วไปและอาคารสถานที่
1)ปี 2562 โรงเรียนได้รับรางวัล IQA Awardจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)โรงเรียนได้ปรับปรุงบริเวณโรงอาหารให้พอเพียงกับจำนวนโรงเรียน และปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนให้มีสภาพพร้อม ใช้ สวยงามปลอดภัยสำหรับนักเรียน
3) จัดทำห้องประชุมมหาเมฆ 3 ห้องเกียรติภูมิทุ่งมหาเมฆ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องResource Centre ห้องReading Lounge สวนลอยฟ้า Rooftop Garden, สวน Hidden Garden, สวน Asian Hub,สวนวรรณคดี และสวน Farm de Tung
ด้านงบประมาณ
1)ได้ของบประมาณปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนทั้ง 3 อาคาร และจัดทำรั้วรอบโรงเรียน
2)ให้บริการรับชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ด้านบุคลากร
1) นางสุดารัตน์ พลแพงพา ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ได้รับรางวัลผลงานรูปแบบ / วิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practice) ในการประกวดผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีพุทธศักราช 2564
2) นางลดาวัลย์ เกื้อสุข รองผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ได้รับโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ ในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่นประจำปีพุทธศักราช2563 จากสมาคมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย
3) นางสาวนฤมล เนียมหอม ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลครูขวัญศิษย์ ประจำปี 2562
จากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี
4) เด็กชายกันต์ดนย์ ธีระรัฐพงษ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการและได้รับโล่เกียรติคุณ เป็นเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน จากกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2564
5) เด็กชายกันต์ดนย์ ธีระรัฐพงษ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนพระราชทานปีการศึกษา 2564
ในปัจจุบันโรงเรียนทุ่งมหาเมฆเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานของหน่วยงานหลายคณะจากทั่วประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับการสนับสนุนและศรัทธาจากชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง ขณะนี้โรงเรียนทุ่งมหาเมฆมีห้องเรียน21 ห้องเรียน ครูและบุคลากร 39คน และนักเรียน 630คน ด้วยความเสียสละวิริยะอุตสาหะของผู้บริหาร ครูอาจารย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และผู้ปกครองให้ความไว้วางใจมีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการทำงานของครู-อาจารย์ นำบุตรหลานเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมากจึงเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆที่จะปฏิรูปการเรียนการสอนเข้าสู่มาตรฐานสากลในอนาคต ตามปรัชญาของโรงเรียน“สอนดี เรียนดี มีน้ำใจ” ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ที่อยู่ เลขที่ 13 แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10120
โทรศัพท์ 022873250 โทรสาร 022873240 อีเมล์ : [email protected] Engine by SchoolWeb.in.th