ประวัติโรงเรียน
ประวัติและการก่อตั้งโรงเรียนยางวิทยาคาร
โรงเรียนยางวิทยาคาร ตั้งอยู่หมู่ที่ 16 ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประวัติพอสังเขป ดังนี้
-
พ.ศ. 2537 ได้รับให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสาขา ของโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย โดยชาวตำบลยาง ตำบลนารุ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยางและตำบลนารุ่ง เมื่อวันที่ 22 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีนายวรวุธ สุทธิกุล เป็นผู้ดูแลสาขา
-
พ.ศ. 2538 ได้ย้ายสถานที่เรียน มาที่ป่าตาลอ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน
-
พ.ศ. 2540 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสาขาศีขรภูมิพิสัยเป็นโรงเรียนยางวิทยาคาร เมื่อวันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 และกรมสามัญศึกษา (เดิม) แต่งตั้งให้นายวรวุธ สุทธิกุล เป็นครูใหญ่โรงเรียนยางวิทยาคาร และในปี พ.ศ. 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จนถึงปี พ.ศ. 2548
-
พ.ศ. 2548 นายบุญล้ำ บุตรเพชร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
-
พ.ศ. 2549 นายพิทักษ์ สุปิงคลัด ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
-
พ.ศ. 2550 นายบุญล้ำ บุตรเพชร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
-
พ.ศ. 2552 นายวสันต์ ปัญญาธานี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
-
พ.ศ. 2553 นายศุภชัย ชาวนา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
-
พ.ศ. 2556 นายบุญศักดิ์ บุญจูง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
. พ.ศ. 2559 นายรณภากาศ สุพรรณไกรสีห์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน คนปัจจุบัน
โรงเรียนยางวิทยาคาร ตั้งอยู่ที่เลขที่ 59 หมู่ที่ 16 ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ในบริเวณเนื้อที่ 25 ไร่ มีอาคารเรียน 2 หลัง คือ อาคารเรียน 216 ล / 41 (หลังคาทรงไทย) อาคารเรียนชั่วคราวกึ่งถาวร จำนวน 1 หลัง บ้านพักผู้บริหาร จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู จำนวน 2 หลัง บ้านพักภารโรง จำนวน 1 หลัง โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง สนามฟุตบอล จำนวน 1 สนาม สนามบาสเกตบอล จำนวน 2 สนาม มีข้าราชการครู ประจำการจำนวน 11 คน พนักงานราชการ จำนวน 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน วิทยากรพิเศษ 4 รูป
1.2 ลักษณะพื้นที่
ปัจจุบันโรงเรียนยางวิทยาคารตั้งอยู่ ณ บริเวณป่าตาลอ บ้านกะลัน ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บนพื้นที่ 25 ไร่ ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 ถนนสุรินทร์ – ศรีสะเกษ ระหว่างกิโลเมตรที่ 40 ระยะทางประมาณ 999 เมตร อาณาเขตพื้นที่บริการมีดังนี้
-
ทิศเหนือ จรดทางรถไฟ (กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี)
-
ทิศใต้ ป่าสาธารณ ป่าตาลอ
-
ทิศตะวันออก ป่าสาธารณ ป่าตาลอ
-
ทิศตะวันตก ป่าสาธารณ ป่าตาลอ