สพฐ.ผุดศูนย์ STEM พัฒนาครูวิทย์
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ว่าได้เตรียมการยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทำหลักสูตรพัฒนาครู ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะครูไม่ได้จบวุฒิการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ ให้มีความร฿และความมั่นใจในการสอนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ทุกหัวข้อที่สอนในระดับประถมตอนต้นและตอนปลายมาคลี่ดูว่าจุดใดมีปัญหาเพื่อนำมาจัดทำเครื่องมือ ชุดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งเครื่องมือชุดปฏิบัติการในการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่ออบรมครู ทั้งนี้ คาดว่าจะมีครูประถมจากโรงเรียน10,000 โรงที่ได้รับการอบรมครั้งนี้ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านด้านวิทยาศาสตร์ที่คร่ำหวอดมาให้ความรู้แก่ครู
"วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาชีพพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียน แต่ สพฐ.ไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าเป็นเพราะปัจจับความพร้อมของครูและสื่อการสอนที่ไม่ตอบสนอง ดังนั้นหากมีการอบรมครูผู้สอน โดยเฉพาะคนที่จบไม่ต้องวุฒิได้มีความพร้อมและความมั่นใจในการสอนและการทดลองก็จะทำให้เด็กได้สนุกที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องเลียนแบบแห้ง และจินตนาการถึงการทดลองต่างๆ เช่นที่ผ่านมา ฉะนั้นเมื่อจับจุดปัญหาได้และแก้ไขปัยหาได้ตรงจุดก็จะส่งผลดีต่อเด็กในอนาคต"นายชินภัทรกล่าว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)เมื่อเร็วๆนี้ ประธานบอร์ด สสวท.ได้เสนอว่าต่อไป สสวท.ได้เสนอว่าต่อไป สสวท. และสพฐ. ควรจะร่วมมือในการยกระดับเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่านี้ โดยเสนอให้มีการตั้งศูนย์STEM (Science and Technology Engineering and Methermatic)ขึ้นในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะคล้ายกับศูนย์ ERIC ของ สพฐ. ที่เน้นการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ศูนย์ STEM จะเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2556 จะเริ่มตั้งศูนย์ดังกล่าวได้ในเขตพื้นที่ที่มีความพร้อมขณะเดียวกัน สพฐ.จะเตรียมการตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาตามนโยบายของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการให้ครบทั้ง 225 เขตพื้นที่การศึกษาทั้งเขตประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่จะเริ่มดำเนินการในเขตที่มีความพร้อมก่อนตั้งเป้าที่ 1:10 ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอาเซียน