รอบรู้.. อาเซม ซัมมิท เวทีการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป
ผู้เข้าชม : 65382
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก asem9.la , เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra
เมื่อเห็นข่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปประชุมอาเซม ที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลายคนอาจจะสงสัยว่า การประชุมอาเซมที่ว่า คือการประชุมอะไรกันแน่ เพราะต้องยอมรับว่าการประชุมนี้ ยังไม่ติดหูคนไทยมากนัก ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับการประชุมอาเซม ซัมมิท กันจ้า
อาเซม คือ การประชุมระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM) เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงก่อนการเริ่มการประชุม มีการเชื่อมโยงข้ามภูมิภาคเพียงแค่ 2 แบบคือ การประชุมเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และการประชุมระหว่างอเมริกากับยุโรป (ทรานส์แอตแลนติก) เท่านั้น ดังนั้นนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ในช่วงนั้นคือ โก๊ะ จ๊ก ตง จึงได้เสนอแนวคิดการประชุมระหว่างเอเชียกับยุโรปขึ้น เพื่อให้ภูมิภาคเกิดความสมดุล จึงเกิดอาเซมขึ้นในที่สุด
อาเซม ซัมมิท จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 1-2 มีนาคม พ.ศ. 2539 ที่กรุงเทพมหานคร มีผู้นำเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 ประเทศ โดยจะเน้นการประชุมในเรื่องการค้าการลงทุนเป็นหลัก หลังจากจบการประชุมครั้งแรกแล้ว ทางอาเซมก็มีกฎว่า จะต้องประชุมทุก ๆ 2 ปี โดยยุโรปกับเอเชียสลับกันเป็นเจ้าภาพ กระทั่งถึง พ.ศ. 2555 ก็เป็นการประชุมครั้งที่ 9 แล้ว
สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 มีผู้นำจาก 46 ประเทศเข้าร่วม และมีน้องใหม่เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก ได้แก่ บังกลาเทศ, สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ โดยมีคำขวัญการประชุมในครั้งนี้คือ Friends for Peace, Partners for Prosperity
สำหรับเนื้อหาขอบเขตการประชุมเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสังคมวัฒนธรรม จากเดิมจะเน้นไปในเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักเท่านั้น เมื่อมองลงไปในเนื้อหาการประชุม ก็จะประชุมในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ สภาพอากาศ สภาพการเงิน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่าง 2 ภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ยังมีการประชุมทวิภาคี หรือการประชุมสองฝ่ายระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย โดยจะประชุมในเรื่องการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ซึ่งน่าจะเริ่มสร้างได้ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมกับรื้อการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสองประเทศแนบแน่นมากขึ้น
ทั้งนี้ การจัดประชุมอาเซม ซัมมิท ของลาว นับว่าเป็นงานใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ดังนั้นทางการลาวจึงได้ประกาศให้โรงเรียนและหน่วยงานราชการที่อยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ปิดทำการตลอดทั้งสัปดาห์ และวางกำลังรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมากอีกด้วย
สำหรับ 46 ประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซม ได้แก่ ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เบลเยียม, บรูไน, บัลแกเรีย, กัมพูชา, จีน, ไซปรัส, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ฮังการี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ลาว, ลัตเวีย, ลิธัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, มาเลเซีย, มอลตา, มองโกเลีย, เมียนมาร์, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, รัสเซีย, สิงคโปร์, สโลวาเกีย, สเปน, สวีเดน, ไทย, สหราชอาณาจักร, เวียดนาม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก asem9.la , เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra
เมื่อเห็นข่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปประชุมอาเซม ที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลายคนอาจจะสงสัยว่า การประชุมอาเซมที่ว่า คือการประชุมอะไรกันแน่ เพราะต้องยอมรับว่าการประชุมนี้ ยังไม่ติดหูคนไทยมากนัก ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับการประชุมอาเซม ซัมมิท กันจ้า
อาเซม คือ การประชุมระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM) เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงก่อนการเริ่มการประชุม มีการเชื่อมโยงข้ามภูมิภาคเพียงแค่ 2 แบบคือ การประชุมเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และการประชุมระหว่างอเมริกากับยุโรป (ทรานส์แอตแลนติก) เท่านั้น ดังนั้นนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ในช่วงนั้นคือ โก๊ะ จ๊ก ตง จึงได้เสนอแนวคิดการประชุมระหว่างเอเชียกับยุโรปขึ้น เพื่อให้ภูมิภาคเกิดความสมดุล จึงเกิดอาเซมขึ้นในที่สุด
อาเซม ซัมมิท จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 1-2 มีนาคม พ.ศ. 2539 ที่กรุงเทพมหานคร มีผู้นำเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 ประเทศ โดยจะเน้นการประชุมในเรื่องการค้าการลงทุนเป็นหลัก หลังจากจบการประชุมครั้งแรกแล้ว ทางอาเซมก็มีกฎว่า จะต้องประชุมทุก ๆ 2 ปี โดยยุโรปกับเอเชียสลับกันเป็นเจ้าภาพ กระทั่งถึง พ.ศ. 2555 ก็เป็นการประชุมครั้งที่ 9 แล้ว
สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 มีผู้นำจาก 46 ประเทศเข้าร่วม และมีน้องใหม่เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก ได้แก่ บังกลาเทศ, สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ โดยมีคำขวัญการประชุมในครั้งนี้คือ Friends for Peace, Partners for Prosperity
สำหรับเนื้อหาขอบเขตการประชุมเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสังคมวัฒนธรรม จากเดิมจะเน้นไปในเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักเท่านั้น เมื่อมองลงไปในเนื้อหาการประชุม ก็จะประชุมในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ สภาพอากาศ สภาพการเงิน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่าง 2 ภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ยังมีการประชุมทวิภาคี หรือการประชุมสองฝ่ายระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย โดยจะประชุมในเรื่องการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ซึ่งน่าจะเริ่มสร้างได้ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมกับรื้อการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสองประเทศแนบแน่นมากขึ้น
ทั้งนี้ การจัดประชุมอาเซม ซัมมิท ของลาว นับว่าเป็นงานใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดมา ดังนั้นทางการลาวจึงได้ประกาศให้โรงเรียนและหน่วยงานราชการที่อยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ปิดทำการตลอดทั้งสัปดาห์ และวางกำลังรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมากอีกด้วย
สำหรับ 46 ประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซม ได้แก่ ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เบลเยียม, บรูไน, บัลแกเรีย, กัมพูชา, จีน, ไซปรัส, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ฮังการี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ลาว, ลัตเวีย, ลิธัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, มาเลเซีย, มอลตา, มองโกเลีย, เมียนมาร์, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, รัสเซีย, สิงคโปร์, สโลวาเกีย, สเปน, สวีเดน, ไทย, สหราชอาณาจักร, เวียดนาม
ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง