โครงการชีววิถี 2566

วันที่ 13 ม.ค. 2568

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ความเป็นมาของโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จัดทำโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการชีววิถีฯ มาอย่างต่อเนื่องโดยมีสถานศึกษาในแต่ละภาค ที่มีความพร้อมและประสงค์เข้าร่วมโครงการชีววิถีฯ จำนวนทั้งสิ้น 110 แห่ง และได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินผลการดำเนินงานโครงการชีววีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับภาคและระดับประเทศ เพื่อคัดเลือกสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นตามกิจกรรมทั้ง 8 ประเภท เข้ารับรางวัลจาก กฟผ. เป็นประจำทุกปี ในการนี้ วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่มจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลและเพิ่มโอกาสในการสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม

วัตถุประสงค์
 
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ
 
• เพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
 
• ส่งเสริมวิถีของคนไทย ให้รู้จักพอมีพอกิน พึ่งตนเองได้
 
• ให้ความรู้ ความเข้าใจในการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศ
 
• เสริมสร้างจิตสำนึกให้เกิดการเกื้อกูลกัน
 
• เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน
 
• ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยสู่สุขภาพอนามัยที่ดี อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
 
• ส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี
 
• สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
 
• ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การดำเนินการ
 
แนวทางในการดำเนินการโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่
 
• การเกษตร การเพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน พืชผัก นาข้าว ไม้ดอกไม้ประดับ
 
• การประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงตะพาบน้ำ ฯลฯ
 
• ปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ หมู วัวเนื้อ วัวนม แพะ ไก่งวง ฯลฯ
 
• สิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย กำจัดเศษอาหารในครัวเรือน ด้วยการใช้ถังพิทักษ์โลก บำบัดกลิ่นในห้องน้ำ ทำความสะอาดบ้านเรือน สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
 
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนดำเนินการใน 4 เรื่องดังกล่าว ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวช่วย โดยทางโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ทดลองใช้แล้วได้ผลดี และเนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิ์ภาพเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก (Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง