ผลการส่งเสริมทักษะทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพ ของนักเรียนชั้น อนุบาล 3
วันที่ 10 ม.ค. 2568ชื่อเรื่อง : ผลการส่งเสริมทักษะทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือ
นิทานภาพ ของนักเรียนชั้น อนุบาล 3
ผู้วิจัย : นางสาวนิตยา เมธา
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
วิจัย เรื่อง ผลการส่งเสริมทักษะทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานชั้นอนุบาล
3 / 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมทักษะทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพ ในการพัฒนาทักษะภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพในการส่งเสริมทักษะด้านการพูด กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชายหญิง ชั้นอนุบาล 3 / 1 โรงเรียนบ้านแม่ตื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ตาก เขต 2 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ได้แก่ 1) หนังสือนิทานประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 3 แผน และ 3) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมทางด้านการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
- ผลการใช้หนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการพูด ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 มีประสิทธิภาพ ที่สูงขึ้นในแต่ละสัปดาห์ จากแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมทางด้านการพูด
- จากการสรุปแบบประเมิน 3 รายการคือ 1.พูดในสิ่งที่ชอบด้วยตนเองได้ 2.เล่าเรื่องราวที่ฟังได้ 3.แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ฟังได้ เด็กมีคะแนนจากผลการปฏิบัติกิจกรรมการมีทักษะการพูดรายสัปดาห์ ตลอด 3 สัปดาห์ มีค่าแสดงความก้าวหน้า หลังจากจัดกิจกรรม สัปดาห์ที่ 1 =ร้อยละ 44.22 สัปดาห์ที่ 2 = ร้อยละ 64.44และ สัปดาห์ที่ 3 = ร้อยละ 86.66 ตามลำดับ แสดงว่าเด็กมีทักษะการพูดที่ดีขึ้นจากการใช้หนังสือนิทานภาพ ในการสนทนาโต้ตอบ
- การเปรียบเทียบทักษะภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ พบว่า เด็กที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ มีคะแนนหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กมีผลการพัฒนาทักษะภาษาด้านการฟังและการพูดสูงขึ้นหลังจัดกิจกรรมในสัปดาห์สุดท้าย (ค่าเฉลี่ย = 39 , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 4.04)