ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลตาก LibraryAnubantak

สมาชิก

วันที่ 06 ม.ค. 2568

Brunei (บรูไน)

       
                              ธงชาติ                                                                   ตราแผ่นดิน
ชื่อทางราชการ บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ที่ตั้ง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร)
พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร 414,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
รัฐมนตรีต่างประเทศ เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (Prince Mohamed Bolkiah)
ระบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ (1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.1 (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

Cambodia (กัมพูชา)

                                
                           ธงชาติ                                                                                       ตราแผ่นดิน


ชื่อทางราชการ ราชอาณาจักรกัมพูชา  (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง ราชธานีพนมเปญ
ประชากร 14.14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
ภาษาราชการ ภาษาเขมร
ศาสนา พุทธเถรวาท (มหานิกาย ร้อยละ 90 และธรรมยุตินิกาย)
ประมุข พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
ผู้นำรัฐบาล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
หน่วยเงินตรา เรียล (1 บาท ประมาณ 130 เรียล)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 911.73 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.7 (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
สินค้านำเข้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง้
สินค้าส่งออกสำคัญ เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ ข้าว และข้าวโพด
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Indonesia (อินโดนีเซีย)

                                                 
                             ธงชาติ                                                                                                       ตราแผ่นดิน
ชื่อทางราชการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 
ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทร แปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) 
ภาษาราชการ ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4 
ประธานาธิบดี ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
หน่วยเงินตรา รูเปียห์ (Rupiah : IDR) 10,000 รูเปียห์ ประมาณ 35บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  706.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,222 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา
ภูมิอากาศ มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


Laos (ลาว)

                
                                 ธงชาติ                                                                          ตราแผ่นดิน

ชื่อทางราชการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  (The Lao People's Democratic Republic)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ทิศเหนือติดกับจีน  ทิศตะวันตกติดกับพม่าและไทย ทิศตะวันตกติดกับเวียดนาม และทิศใต้ติดกับกัมพูชาเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่ 236,880 ตร.กม. (1/2 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane) 
ประชากร ประมาณ 6 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2552)
ภาษาราชการ ภาษาลาว
ศาสนา ศาสนาพุทธ (เถรวาท) ร้อยละ 75 และนับถือผี ร้อยละ 16-17
ประมุข พลโท จูมมาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone) ประธานประเทศ สปป. ลาว (President of the Lao PDR)
หัวหน้ารัฐบาล นายบัวสอน บุบผาวัน (Mr. Bouasone Bouphavanh) นายกรัฐมนตรี
ระบอบการปกครอง ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรการเมืองสูงสุดชี้นำการบริหารประเทศ
หน่วยเงินตรา กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ) (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 835 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2551)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 7.9 (ข้อมูลปี พ.ศ.2551)
สินค้านำเข้าสำคัญ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกสำคัญ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Malaysia (มาเลเซีย)

                    
                              ธงชาติ                                                                                  ตราแผ่นดิน

ชื่อทางราชการ มาเลเซีย  (Malaysia)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และ ซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมือหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร 28.9 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
ภาษาราชการ  ภาษามาเลย์ Bahasa Melayu
ศาสนา อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%)
ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีอัลวาทิก ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบีดีน อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่านมะห์มูด อัลมุกตาฟี บิลลาห์ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 (His Majesty Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)
ผู้นำรัฐบาล ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก (Dato’ Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak)
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
หน่วยเงินตรา ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท )
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  196 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ ปี 2552) 
รายได้ประชาชาติต่อหัว 6,760 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.8 (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
สินค้านำเข้าสำคัญ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ 
สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์  ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) น้ำมันดิบ
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Philippines (ฟิลิปปินส์)

                       
                              ธงชาติ                                                                            ตราแผ่นดิน

  
ชื่อทางราชการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
พื้นที่ 298.170 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง กรุงมะนิลา
ประชากร 101.8 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก
ศาสนา โรมันคาธอลิกร้อยละ 83 โปรเตสแตนท์ร้อยละ 9 มุสลิมร้อยละ 5 
ประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโน ที่ 3
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6 ปี)
หน่วยเงินตรา เปโซ (1 เปโซ ประมาณ 0.73 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  199.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,489 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.9
สินค้านำเข้าสำคัญ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าทุนที่สำคัญ
สินค้าส่งออกสำคัญ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม ไม้แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ไม้ และยังมีน้ำมันมะพร้าว
ภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่ม

Singapore (สิงคโปร์)

                         
                                 ธงชาติ                                                                                   ตราแผ่นดิน
ชื่อทางราชการ สาธารณรัฐสิงคโปร์  (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง เป็นเกาะ (island city-state) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ (ห่างจากคาบสมุทรประมาณ 137 กิโลเมตร) ทิศเหนือติดกับรัฐยะโฮร์ มาเลเซีย (Johor Bahru) ทิศตะวันออก ติดทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดช่องแคบมะละกา ใกล้กับเกาะเรียล (Riau) ของอินโดนีเซีย
พื้นที่ 699.4 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต)
เมืองหลวง สิงคโปร์
ประชากร 4.98 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2552)
ภาษาราชการ อังกฤษ จีน มลายูและทมิฬ
ศาสนา พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6) ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)
ประมุข นายโทนี ตัน ประธานาธิบดี
ผู้นำรัฐบาล นายลี เซียน ลุง (2547-ปัจจุบัน) นายกรัฐมนตรี
ระบอบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี)
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์สิงคโปร์  (1 SGD ประมาณ 23.47 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  226.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 44,904 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 14.7
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า 
สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส

อ่านรายละเอียดเพิ่่มเติม

Thailand (ไทย)

                          
                           ธงชาติ                                                                                        ตราแผ่นดิน

ชื่อทางราชการ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
ภาษาราชการ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หน่วยเงินตรา บาท (Baht : THB) 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 29.37 บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  379.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 5,587 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.5-6.5 (ประมาณการ ปี 2555)
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป
ภูมิอากาศ เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึง เดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Vietnam (เวียดนาม)

                                                
                                 ธงชาติ                                                                                                    ตราแผ่นดิน 

ชื่อทางราชการ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม    (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ทิศเหนือติดกับจีน  ทิศตะวันตกติดกับลาว ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกัมพูชา  ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้และ อ่าวตังเกี๋ย ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
พื้นที่ 331,690 ตารางกิโลเมตร (ประมาณพื้นที่ 3 ใน 5 ของไทย)
เมืองหลวง กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร 89.57 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
ภาษาราชการ ภาษาเวียดนาม
ศาสนา ศาสนาพุทธ (มหายาน) มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด (ร้อยละ 9.3)
ประมุข นายเจือง เติน ซาง (Truong Tan Sang) ประธานาธิบดี
ผู้นำรัฐบาล นายเหวียน เติน สุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรี 
พรรคคอมมิวนิสต์ นายนง ดึ๊ก แหม่ง (Nong Duc Manh) เลขาธิการพรรค 
ระบอบการปกครอง ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) เป็นพรรคการเมืองเดียวและ มีอำนาจสูงสุด
หน่วยเงินตรา ด่ง  (1 บาท ประมาณ 691 ด่ง เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2555)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  143.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.255ถ)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,362 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.89 (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใยสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าส่งออกสำคัญ สิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันดิบ อาหารทะเล ข้าว ยางพารา กาแฟ รองเท้า
ภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่าน ทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


Myanmar (พม่า)


                                 
                               ธงชาติ                                                                                              ตราแผ่นดิน  

ชื่อทางราชการ สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร)และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)
ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง นครเนปิดอว์
ประชากร 58.38 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2552)
ภาษาราชการ พม่า
ศาสนา พุทธ (ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 5) อิสลาม (ร้อยละ 3.8) ศาสนาฮินดู (ร้อยละ 0.05)
ประมุข พลเอกเต็ง เส่ง (General Thein Sein) ประธานาธิบดี
ผู้นำรัฐบาล พลเอก เต็ง เส่ง (General Thein Sein)
ระบอบการปกครอง ระบบรัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและหัวหน้ารัฐบาล
หน่วยเงินตรา จั๊ต (24 จั๊ตเท่ากับประมาณ 1 บาท (ณ เดือนกันยายน 2554)) 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  49,079 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2555)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,858 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.3 (ข้อมูลปี พ.ศ.2553)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป 
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขา สูงทางตอนกลางและตอนเหนือของ  ประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขต เงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม







      


 
 

ประชาสัมพันธ์
Feature
Link การศึกษา