ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผล

ระเบียบโรงเรียนท่าอิฐศึกษา
ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนหลักสูตรอิสลามศึกษา (ปอเนาะ)
ระดับชั้นเอี๊ยะดาดีย์ และ ระดับชั้นซานาวีย์

***************************************************************

เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนของสถานศึกษา ให้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อยตรงตามหลักสูตรอิสลามศึกษา (ปอเนาะ) ระดับชั้นเอี๊ยะดาดีย์ และ ระดับชั้นซานาวีย์
โรงเรียนจึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ 1.ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนท่าอิฐศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรอิสลามศึกษา(ปอเนาะ) ระดับชั้นเอี๊ยะดาดีย์ และ ระดับชั้นซานาวีย์
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ใช้ระเบียบนี้ควบคู่กับหลักสูตรอิสลามศึกษา (ปอเนาะ)ระดับชั้นเอี๊ยะดาดีย์
และระดับชั้นซานาวีย์
ข้อ 4. ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

หมวดที่ 1

หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียน
ข้อ 5. การวัดและประเมินผลการเรียนให้เป็นไปตามหลักการดังต่อไปนี้
5.1 โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนรวม
  • การวัดและประเมินผลการเรียนต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดใน
หลักสูตรอิสลามศึกษา (ปอเนาะ)
5.3 การประเมินผลการเรียนต้องประกอบด้วย การประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน
5.4 การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องดำเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมินผู้เรียน ตามธรรมชาติของวิชา และระดับช่วงชั้นของผู้เรียน
5.5 ให้มีการประเมินความสามารถของผู้เรียน ในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความในแต่ละช่วงชั้น
5.6 ให้มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น
5.7 เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนได้
5.8 ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ


9

หมวดที่ 2

วิธีการประเมินผลการเรียน
ข้อ 6. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
6.1 แจ้งให้ผู้เรียนทราบมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
6.2 จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ต้องครอบคลุมพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะ-พิสัย และเน้นกระบวนการ
6.3 ประเมินผลก่อนเรียน เพื่อหาสารสนเทศของผู้เรียน
6.4 วัดและประเมินผลระหว่างเรียน เพื่อศึกษาผลการเรียน เพื่อปรับปรุง แก้ไข ข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ และนำคะแนนการวัดและประเมินผลไปรวมกับคะแนนผลปลายปี
- วัดและประเมินผลเป็นระยะๆ ถ้านักเรียนไม่ผ่านการเรียนรู้ที่คาดหวังใดๆ ให้ผู้สอนจัดการสอนซ่อมเสริม ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
6.5 การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชาปลายปี
- การประเมินหลังเรียน เพื่อประเมินศักยภาพของผู้เรียน
- การประเมินผลการเรียนปลายปี เพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการเรียนรายวิชาต่างๆ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังปลายปี
6.6 การตัดสินผลการเรียน ให้นำคะแนนระหว่างเรียน รวมกับคะแนนปลายปี ตามอัตราส่วนที่โรงเรียนกำหนด ( 60 : 40 / 70 : 30 แล้วนำมาเปลี่ยนเป็นระดับผลการเรียน
6.7 ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน ในแต่ละรายวิชาดังนี้
4 หมายถึง ผลการเรียนดีมาก
3 หมายถึง ผลการเรียนดี
2 หมายถึง ผลการเรียนปานกลาง
1 หมายถึง ผลการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
0 หมายถึง ผลการเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
6.8 ให้ใช้อักษรแสดงผลการเรียนที่มีเงื่อนไข ในแต่ละรายวิชาดังนี้
ร หมายถึง รอการตัดสินหรือยังตัดสินไม่ได้
มส หมายถึง ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินปลายปี
ข้อ.7 การวัดและประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
7.1 แจ้งให้ผู้เรียนทราบเกณฑ์การประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความได้
7.2 ประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ เมื่อสิ้นเทอมที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงสถานภาพของตนเองและทำการปรับปรุงแก้ไข
7.3 ประเมินเมื่อสิ้นปีการศึกษาตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด นำเสนอต่อคณะกรรมการ
7.4 คณะกรรมการตัดสินการประเมินแจ้งให้ผู้เรียนและผู้ปกครองทราบโดยมีผลการเรียน 2 ระดับ คือ
10
ผ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
7.5 ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุง แก้ไข ในส่วนที่ไม่ผ่านการประเมิน
7.6 คณะกรรมการนำผลการประเมินนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ เพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการตัดสินการผ่านช่วงชั้น
ข้อ 8. การวัดและการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
8.1 แจ้งจุดประสงค์และเกณฑ์การผ่าน การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละกิจกรรม
8.2 ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน และการปฏิบัติ ตามจุดประสงค์เมื่อสิ้นเทอมที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบสถานภาพของตนเอง และรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อทำการปรับปรุงส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8.3 ประเมินเมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยนำผลการประเมินในข้อ 8.2 ไปรวมกับผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา เพื่อวัดผลการประเมินตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
8.4 ตัดสินผลการประเมิน แจ้งให้ผู้เรียนและผู้ปกครองทราบ โดยใช้อักษรแสดงผลการประเมิน ดังนี้
ผ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
8.5 ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านการประเมิน ให้ดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุง แก้ไข ในส่วนที่ไม่ผ่านการประเมิน
ข้อ 9. การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
9.1 แจ้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของโรงเรียน และเกณฑ์การผ่าน
9.2 ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
9.3 ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี นำเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาตัดสินผลการประเมิน ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
9.4 คณะกรรมการฯตัดสินผลการประเมินให้อาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เรียนนำไปกรอกในเอกสารแบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะฯเพื่อแจ้งผู้เรียนและผู้ปกครองทราบ โดยใช้อักษรแสดงผลการประเมินดังนี้
ผ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มผ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
9.5 ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมิน ให้ดำเนินการเข้ารับการอบรมและปฏิบัติคุณความดีชดเชยตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนด
9.6 คณะกรรมการสรุปผลการประเมิน ในปีการเรียนสุดท้าย โดยนำผลการประเมินแต่ละปีการเรียน ที่ได้บันทึกไว้ มาตัดสินให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้น
9.7 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ประการใดประการหนึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมและปฏิบัติกิจกรรมคุณความดีชดเชยตามที่คณะกรรมการมอบหมายจนครบถ้วนจึงจะได้รับอนุมัติให้ผ่านช่วงชั้นได้

11

หมวดที่3

การตัดสินผลการเรียน
ข้อ 10. การตัดสินผลการเรียน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
10.1 พิจารณาตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ภาคเรียนที่ หนึ่ง 50 % ภาคเรียนที่ สอง 50 %
10.2 พิจารณาตัดสินว่า ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นรายวิชาได้ระดับผลการเรียน 1-4 เท่านั้น
10.3 วัดผลปลายปี เฉพาะผู้เรียนที่มีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น
10.4 ผู้เรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียนในรายวิชานั้น และไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลายปี ให้ได้ผลการเรียน “ มส ”
10.5 ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดให้ ได้รับผลการเรียน “ 0 ” ในครั้งนั้น
10.6 ผู้เรียนที่ทุจริตในการสอบหรือทุจริตในงานที่หมอบหมายให้ทำ ในรายวิชาใด ครั้งใด ให้ได้คะแนน “ 0 ” ในครั้งนั้น
10.7 ผู้เรียนไม่ได้วัดผลปลายภาคเรียนที่หนึ่ง และปลายปีการศึกษา ไม่ได้ส่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้ ให้ได้ผลการเรียน “ ร”
10.8 ผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนกำหนด โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน “ผ” ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน “มผ”
ข้อ11. การเปลี่ยนระดับผลการเรียน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
11.1 กรณีที่ผู้เรียนมีผลการเรียน “0” ให้สถานศึกษาดำเนินการสอนซ่อมเสริม ปรับปรุงผู้เรียน ในสาระการเรียนรู้รายปี โดยดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จนผู้เรียนสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีครบทุกสาระการเรียนรู้ โดยให้แก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาการแก้ตัวออกไปได้
การแก้ตัวให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” ถ้าแก้ตัว 2 ครั้งแล้ว ยังได้ระดับผลการเรียน “0” อีกให้เรียนซ้ำ
11.2 การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
- ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” เพราะเหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบหรือส่งผลงานที่ติดค้างอยู่เรียบร้อยแล้ว หรือแก้ปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนตามปกติ (ตั้งแต่ 0 - 4)
- ในกรณีที่ผู้เรียนได้รับผลการเรียน “ร” โดยสถานศึกษาพิจารณาเห็นแล้วว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบ หรือส่งผลงานที่ ติดค้างอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือแก้ปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
การเปลี่ยนผลการเรียน“ร” ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “ร” ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้เรียนซ้ำ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะขยายเวลาแก้ “ร” ออกไป
11.3 การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

12
กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” เพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติม หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาครบตามที่กำหนดไว้สำหรับรายวิชานั้น แล้วจึงสอบให้เป็นกรณีพิเศษผลการแก้ “มส”ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
การแก้ “มส” กรณีนี้ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “มส” ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ให้เรียนซ้ำ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพิจนิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ “มส” ออกไป
กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” และมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้โรงเรียนจัดให้เรียนซ้ำ
11.4 การเรียนซ้ำให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะกำหนดช่วงเวลาในการเรียนซ้ำให้เหมาะสม และต้องประเมินผลการเรียนตามที่ระเบียบนี้กำหนดไว้ การเรียนซ้ำ จะได้รับผลการเรียนตามข้อ 10
ข้อ12. การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
การตัดสินผลการเรียน ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้สอนหรือคณะกรรมการการประเมินอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการซ่อมเสริมตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนด แล้วนำการประเมินใหม่ เมื่อซ่อมผ่านได้แล้ว จึงจะได้รับการพิจารณาให้ผ่านช่วงชั้นต่อไปได้
ข้อ13. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน
ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ประการใดประการหนึ่ง จะยังไม่ได้รับการพิจารณาให้ผ่านช่วงชั้น ต้องปฏิบัติกิจกรรมคุณความดีตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนดให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาให้ผ่านช่วงชั้นต่อไปได้
ข้อ14. การตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
14.1 ผู้เรียนต้องผ่านผลการประเมินตามจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม
14.2 ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
14.3 ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้ผลการเรียน “ผ”
14.4 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้ผลการเรียน “มผ”
14.5 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะต้องทำการซ่อมเสริมให้ผ่าน
ข้อ 15. เกณฑ์การตัดสินเลื่อนชั้น - ซ้ำชั้น
15.1 ผู้เรียนต้องผ่านทุกรายวิชา ที่เรียนในปีการศึกษานั้น ๆ
15.2 ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนในปีการศึกษานั้น ๆ
15.3 ผู้เรียนต้องผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนในปีการศึกษานั้น ๆ
15.4 ผู้เรียนต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในปีการศึกษานั้น ๆ
15.5 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านในรายวิชา ตั้งแต่ 1 – 4 วิชา หลังจากดำเนินการสอบซ่อมในเวลาที่กำหนด-
ให้ดำเนินการสอบซ่อมให้แล้วเสร็จในภาคเรียนถัดไป
15.6 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านในรายวิชา มากกว่า 4 วิชา หลังจากดำเนินการสอบซ่อมในเวลาที่กำหนด-
ให้คงซ้ำชั้นอยู่ที่เดิม
15.7 ผู้เรียนที่ไม่ดำเนินการสอบซ่อม ในรายวิชาที่ยังไม่ผ่านไม่มีสิทธิจบช่วงชั้น
13
หมวดที่4
การเทียบโอน
ข้อ 16. การเทียบโอนผลการเรียนเป็นการนำผลการเรียนซึ่งเป็นความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกรอบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษา แนวดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเทียบโอนผลการเรียน ดังนี้
16.1 การเทียบโอนผลการเรียนให้ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการการเทียบโอนผลการเรียนจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการวัดผลประเมินผลจำนวน 3 คน
16.2 ผู้ขอเทียบโอนต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียนท่าอิฐศึกษา โดยโรงเรียนจะดำเนิน การเทียบโอนผลการเรียนในปีเรียนแรก ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียน ยกเว้นกรณีมีเหตุผลจำเป็น
16.3 จำนวนรายวิชา จำนวนหน่วยการเรียนที่จะรับเทียบโอนและอายุของผลการเรียนที่จะนำมาเทียบโอน ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการ
16.4 การเทียบโอนให้ดำเนินการดังนี้
- กรณีผู้ขอเทียบโอนมีผลการเรียนมาจากหลักสูตรต่างๆให้นำรายวิชาที่มีจุดประสงค์และเนื้อหาสอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มาเทียบโอนผลการเรียนได้ และพิจารณาให้ระดับผลการเรียนให้สอด คล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน
- กรณีการเทียบโอนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้พิจารณาเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี)
โดยให้มีการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และให้ระดับผลการเรียนตามเกณฑ์การประเมินผลการเรียนของหลัก-สูตรที่รับเทียบโอน
หมวดที่5
หน้าที่ของโรงเรียน
ข้อ 17.ให้โรงเรียนจัดให้มีเอกสารวัดและประเมินผล
17.1 เอกสารหลักฐานการศึกษาควบคลุมและบังคับมีดังนี้
17.1.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน ( transcript)
17.1.2 หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา(ใบประกาศนียบัตร)
17.1.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
17.2 เอกสารหลักฐานการศึกษาที่โรงเรียนดำเนินการเอง
17.2.1 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
17.2.2 เอกสารแสดงบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
17.2.3 เอกสารรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
17.2.4 ใบรับรองผลการศึกษา
17.2.5 เอกสารระเบียนสะสม
17.2.6 เอกสารการเทียบโอน
14
ระเบียบโรงเรียนท่าอิฐศึกษา
ระดับเอี๊ยะดาดีย์และระดับซานาวีย์ (วิชาการปอเนาะ)
ตั้งอยู่ที่ 81/1 หมู่ 6 ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทรศัพท์. 0-2961-1467 , 089-225- 6895 โทรสาร. 0-2961-1217

1. การรับสมัครนักเรียนระดับเอี๊ยะดาดีย์และระดับซานาวีย์
1.1 ไม่กำหนดอายุผู้เข้าเรียน
1.2 รับทั้งเพศชายและเพศหญิง
1.3 จบการศึกษาสามัญ ภาคบังคับ ( ม.3 )
1.4 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
1.5 สามารถอ่านพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานได้
2. หลักฐานการรับสมัครนักเรียนระดับเอี๊ยะดาดีย์และระดับซานาวีย์
2.1 สำเนาหลักฐานการจบการศึกษา ( ด้านสามัญ , ด้านศาสนา )
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัครและของผู้ปกครอง
2.3 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัครและของผู้ปกครอง
2.4 รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
3. ค่าธรรมเนียมการเรียน
3.1 ค่าสมัคร(แรกเข้า) 300 บาท
3.2 ค่าบำรุงการศึกษา 1,000 บาท / ปี
4. ค่าธรรมเนียมนักเรียนชายที่อยู่หอพัก (ปอเนาะ)
4.1 ค่าบำรุงหอพัก 1,500 บาท / ปี
4.2 ค่าน้ำ 1,000 บาท / ปี
4.3 ค่าไฟฟ้า ตามมิเตอร์
5. หลักสูตรและวิชาที่สอน
5.1 หลักสูตรที่รับรองวิทยฐานะ(มูอาดาละห์)โดยมหาวิทยาลัย “อัลอัซฮัร” กรุงไคโร ประเทศอิยิปต์
5.2 กิจกรรม เสริมหลักสูตร เช่น หลักสูตรผู้นำ ภาษาต่างประเทศ และคอมพิวเตอร์เป็นต้น
6. ชั้นเรียน
6.1 ระดับการเรียน 2 ช่วงชั้น - ระดับเอี๊ยะดาดีย์ 1 – 3 - ระดับซานาวีย์ 1 - 3
7. เวลาเรียน
7.1 เข้าเรียนเวลา 07.45 น. เลิกเรียนเวลา 16.10 น.
7.2 เปิดสอนตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ รวม 5 วัน
7.3 แบ่งการเรียนเป็น 2 ภาคเรียน (กำหนดเปิด – ปิดภาคเรียน ตามประกาศของโรงเรียน)
15

8. วันหยุด
8.1 หยุดทุกวันเสาร์ – วันอาทิตย์
8.2 วันหยุดตามประกาศของราชการ
8.3 วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม
9. การแต่งกายสำหรับนักเรียนชาย
9.1 เสื้อ - เสื้อกุรงสีขาว แขนยาว
9.2 ผ้าโสร่ง - ผ้าโสร่ง สีและลายสุภาพ
9.3 หมวก - หมวกกอปีเยาะห์หรือหมวกดาดา สีขาว
9.4 รองเท้า - รองเท้าสุภาพ
9.5 ทรงผม - ตัดรองทรงธรรมดา ไม่ใส่น้ำมันแต่งผม และไม่เปลี่ยนสีผม
10. การแต่งกายสำหรับนักเรียนหญิง
10.1 เสื้อ - เสื้อโต๊บยาวสีดำ ไม่มีลวดลาย และไม่รัดรูป
- แขนเสื้อยาวปิดข้อมือ
10.2 ผ้าคลุมศีรษะ - ผ้าคลุมศีรษะแบบสวม สีดำ และให้สวมหมวกคลุมผมด้านใน
- ความยาวของผ้าคลุม ด้านข้างให้ยาวถึงข้อศอก ด้านหน้าปิดหน้าอก
10.3 รองเท้า - รองเท้าสุภาพ
10.4 ถุงเท้า - ถุงเท้าสีสุภาพ ไม่มีลวดลายและไม่พับหรือม้วนขอบถุงเท้า
10.5 เล็บ - ตัดเล็บสั้นรักษาความสะอาดอยู่เสมอไม่ทาหรือตกแต่งเล็บเพื่อความสวยงาม
10.6 เครื่องประดับ - ห้ามใช้เครื่องประดับทุกชนิดยกเว้นนาฬิกาข้อมือที่สุภาพเท่านั้น
- ห้ามใช้น้ำหอม และห้ามแต่งหน้าทาปากเพื่อการเสริมสวยมาโรงเรียน
- ห้ามสวมแว่นตา หรือคอนแทกเลนส์ เว้นแต่ผู้บกพร่องทางสายตา
11. การจำหน่ายออก
11.1 เรียนจบหลักสูตร
11.2 ลาออก
11.3 ตาย
11.4 ประพฤติผิดอย่างร้ายแรง
11.5 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง




16
ระเบียบโรงเรียนท่าอิฐศึกษา
ว่าด้วยการปฏิบัติของนักเรียน พ.ศ. 2559
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน
จึงออกระเบียบเป็นหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

หมวดที่ 1
ว่าด้วยความประพฤติทั้งในและนอกบริเวณโรงเรียน
ข้อ 1 ความประพฤติของนักเรียนในบริเวณโรงเรียน
1.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
1.2 เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งและการตักเตือนของครู
1.3 แต่งกายให้เรียบร้อยและถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
1.4 เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงโดยพร้อมเพรียงกัน
1.5 ห้ามออกนอกบริเวณสถานศึกษาก่อนได้รับอนุญาต
1.6 มีความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ใส่ร้ายป้ายสีและหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
1.7 หากจำเป็นต้องหยุดเรียน ให้ส่งใบลา โดยได้รับการรับรองจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์ อักษร
1.8 ให้รักษาความสะอาด ช่วยกันประหยัดและรักษาทรัพย์สินของสถานศึกษา
1.9 มีความสงบและสำรวมทั้งกาย วาจาและใจ
1.10 ห้ามดัดและทำสีผม
1.11 รับประทานอาหารที่โรงอาหาร
1.12 ห้ามนำพาหรือชักชวนบุคคลภายนอกเข้ามาในสถานศึกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
1.13 ไม่อนุญาตให้นักเรียนสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ไม่ปกปิดเอาเราะฮ์ ( ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้อง
ปกปิดตามหลักศาสนาอิสลาม )
1.14 ห้ามเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุขทั้งหลาย
1.15 ห้ามลักขโมยและขู่กรรโชกทรัพย์สินของบุคคลอื่น
1.16 ห้ามกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจบริหารหรือข้อบังคับของสถานศึกษา หรือขู่เข็ญ
ยุยงส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการดังกล่าวนั้น
1.17 นักเรียนต้องแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนให้เรียบร้อยทุกครั้ง เมื่อมีการติดต่อกับสถานศึกษา
1.18 ห้ามนักเรียนส่งเสียงดังในห้องเรียน อาคารเรียน ขณะที่มีการเรียนการสอน
1.19 ห้ามนั่งเล่นหรือนอนในอาคารมัสยิดในช่วงเวลาเรียน
1.20 ห้ามนักเรียนให้ความสนิทสนมกับเพื่อนต่างเพศเกินขอบเขตที่ศาสนาได้บัญญัติไว้
1.21 ห้ามพกพาวิทยุ อาวุธปืน วัตถุระเบิด ของมีคม โทรศัพท์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อลามกต่างๆ
1.22 ให้รักษาความสะอาดของตนเอง ห้องเรียนและอาคารสถานที่รวมทั้งบริเวณโรงเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ
1.23 ให้ " สลาม " และขออนุญาตทุกครั้งก่อนเข้าห้องเรียนและห้องของผู้อื่นขณะที่มีผู้อื่นอยู่ในห้อง
17
ข้อ 2 ความประพฤติของนักเรียนนอกบริเวณโรงเรียน

2.1 ต้องแต่งกายและประพฤติตนตามหลักศาสนาอิสลาม
2.2 ห้ามนักเรียนเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืนหลังเวลา ๒๐.๓๐ น. เว้นแต่ไปกับผู้ปกครองหรือได้รับอนุญาต
จาก สถานศึกษา
2.3 ห้ามนักเรียนคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่ใช่มุฮฺรอม(ผู้ที่แต่งงานด้วยไม่ได้) หรือประพฤติตนส่อในทางชู้สาว
2.4 เมื่อเดินสวนทางกับครูให้นักเรียนกล่าว "สลาม" หรือทักทายอย่างสุภาพ
2.5 ห้ามนักเรียนสวมเครื่องแบบนักเรียนหลังเวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป
2.6 ห้ามนักเรียนใช้บริการในสถานบันเทิงและหรือแหล่งอบายมุขทั้งหลาย
2.7 ห้ามเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและของมึนเมาทุกชนิด
2.8 ห้ามคบค้าสมาคมกับบุคคลที่ประพฤติตนเพื่อการค้าประเวณี และหรือสิ่งเสพติดทุกชนิด
2.9 ห้ามจัดกิจกรรมนำเที่ยวหรือชักชวนเพื่อนนักเรียนและผู้อื่นไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในเวลากลางวัน
และกลางคืน เว้นแต่ไปกับผู้ปกครอง หรือได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตเท่านั้น
2.10 ห้ามเล่นการพนันและหรือเล่นแชร์ทุกชนิด
2.11 ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
2.12 ห้ามมั่วสุมและก่อความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น
2.13 ห้ามลักขโมยและขู่กรรโชกทรัพย์สินของบุคคลอื่น
2.14 ห้ามเข้าประกวดร้องเพลงและหรือประกวดความงามต่าง ๆ

ข้อ 3 การปฏิบัติกิจกรรมนอกเวลาเรียนหรือการเรียนเพิ่มเติม

3.1 แต่งกายให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
3.2 ต้องนำบัตรประจำตัวนักเรียนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาด้วยทุกครั้ง
3.3 ห้ามนำพาหรือชักชวนบุคคลภายนอกและหรือพกพาอาวุธเข้ามาภายในสถานศึกษา เว้นแต่ได้รับ
อนุญาตจากผู้อนุญาตเท่านั้น
3.4 เมื่อมาจัดกิจกรรมแล้ว ห้ามนักเรียนเที่ยวเตร่หรือประพฤติตนเสื่อมเสียชื่อเสียงทั้งของตนเองและสถานศึกษา